เกี่ยวกับ
แชมป์โลกรุ่นฟลายเวต ฉายา “Mighty Mouse” ได้รับการยกย่องให้เป็นนักสู้ที่เก่งกาจที่สุดแบบปอนด์ต่อปอนด์ตลอดกาลของวงการศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน หลังประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับสูงมากมายในอเมริกาเหนือและป้องกันแชมป์โลกได้ถึง 11 ครั้ง เขาตัดสินใจให้ วัน แชมเปียนชิพ เป็นบ้านหลังใหม่ในปี 2561
เขาเติบโตมาจากการเลี้ยงดูของแม่ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและพ่อเลี้ยงที่ไม่ค่อยดีนัก อย่างไรก็ตามเขาไม่ปล่อยให้ปัญหาเป็นอุปสรรคต่อความสามารถของเขา เขาเป็นนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในสมัยมัธยมปลาย แข่งขันในกีฬาหลากหลายประเภท จนกระทั่งก้าวขึ้นเป็นที่ 2 ของรัฐวอชิงตันในการแข่งขันชิงแชมป์มวยปล้ำ
ความสำเร็จดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาก้าวเข้ามาเป็นนักศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานในปี 2550 และสร้างผลงานน่าทึ่งที่สุดครั้งหนึ่งในอาชีพนักสู้แห่งสังเวียนวงกลมเหล็ก แม้เขาจะไปได้สวยในการแข่งขันรุ่นแบนตัมเวต แต่การย้ายมารุ่นฟลายเวตในปี 2555 ทำให้เห็นถึงตัวตนจริงของเขา ด้วยการจารึกชื่อในหน้าประวัติศาสตร์กับการป้องกันแชมป์โลกฝั่งอเมริกาถึง 11 ครั้ง พร้อมกับการเป็นนักศิลปะการต่อสู้ที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงเป็น เกมมิ่ง สตรีมเมอร์ ตัวท็อประดับโลกอีกด้วย
หลังตัดสินใจเข้ามาล่าความสำเร็จในฝั่งเอเชียกับ ONE “ดิมิเทรียส” คว้าเข็มขัดสีเงินจากการแข่งขัน ONE MMA เวิลด์ กรังด์ปรีซ์ รุ่นฟลายเวต นอกจากนั้น เขายังได้รับโอกาสในการชิงแชมป์โลกมวย MMA รุ่นฟลายเวต กับ “อาเดรียโน โมราเอส” เจ้าบัลลังก์รุ่นนี้ที่ครองอำนาจมานาน เมื่อเดือนเมษายน 2564 แต่แฟน ๆ ทั่วโลกต่างช็อกเมื่อนักสู้ชาวอเมริกันพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี เมื่อแชมป์โลกคนปัจจุบันน็อกเอาต์เขาด้วยเข่า
อย่างไรก็ตาม ความพ่ายแพ้นี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2565 “ดิมิเทรียส” เอาชนะแชมป์โลกมวยไทย “รถถัง จิตรเมืองนนท์” ในกติกาผสม มวยไทย-MMA ครั้งประวัติศาสตร์ และ 5 เดือนต่อมาก็เอาชนะ “อาเดรียโน” ได้อีกครั้ง ในศึกล้างตาภาคสอง โดยเขาเป็นคนแรกที่น็อกเอาต์ “อาเดรียโน” ด้วยการใช้เข่า คว้าแชมป์โลกมวย MMA รุ่นฟลายเวต และกลายเป็นแชมป์โลก MMA 13 สมัยอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ในปี 2566 “Mighty Mouse” ย้ำชัย “อาเดรียโน” ที่กลับมาทวงบัลลังก์ได้อีกครั้ง ด้วยการคว้าชัยชนะเอกฉันท์ในศึกชิงแชมป์โลกครั้งที่ 3 ของทั้งคู่ คว้าแชมป์โลกสมัยที่ 14 และตอกย้ำสถานะนักสู้ MMA ที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาลอย่างไร้ข้อกังขา กระทั่งเขาประกาศอำลาสังเวียนอย่างเป็นทางการเมื่อ 7 กันยายน 2567 โดยได้รับการจารึกชื่อในหอเกียรติยศ ONE Hall of Fame เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์
สถิติใน วัน แชมเปียนชิพ
สถิติใน วัน แชมเปียนชิพ
ผลการแข่งขัน | Sport | การตัดสิน | ยก | การตัดสินและยก | คู่แข่ง | คู่แข่งและการแข่งขัน | ประเทศ | วันที่ | อีเวนต์ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชนะ
การต่อสู้แบบผสมผสาน
คะแนนเอกฉันท์
คะแนนเอกฉันท์
ยก 5 (5:00)
|
การต่อสู้แบบผสมผสาน |
คะแนนเอกฉันท์
ยก 5 (5:00)
|
ยก 5 (5:00) |
อาเดรียโน โมราเอสบราซิล
|
บราซิล |
ONE Fight Night 10: ดิมิเทรียส vs อาเดรียโน III |
||||||
ชนะ
การต่อสู้แบบผสมผสาน
น็อกเอาต์
น็อกเอาต์
ยก 4 (3:50)
|
การต่อสู้แบบผสมผสาน |
น็อกเอาต์
ยก 4 (3:50)
|
ยก 4 (3:50) |
อาเดรียโน โมราเอสบราซิล
|
บราซิล |
ONE Fight Night 1: อาเดรียโน VS ดิมิเทรียส II |
||||||
ชนะ
การต่อสู้แบบผสมผสาน
การซับมิชชัน
การซับมิชชัน
ยก 2 (2:13)
|
การต่อสู้แบบผสมผสาน |
การซับมิชชัน
ยก 2 (2:13)
|
ยก 2 (2:13) |
รถถัง จิตรเมืองนนท์ไทย
|
ไทย |
ONE X |
||||||
แพ้
การต่อสู้แบบผสมผสาน
น็อกเอาต์
น็อกเอาต์
ยก 2 (2:24)
|
การต่อสู้แบบผสมผสาน |
น็อกเอาต์
ยก 2 (2:24)
|
ยก 2 (2:24) |
อาเดรียโน โมราเอสบราซิล
|
บราซิล |
ONE on TNT I |
||||||
ชนะ
การต่อสู้แบบผสมผสาน
คะแนนเอกฉันท์
คะแนนเอกฉันท์
ยก 3 (5:00)
|
การต่อสู้แบบผสมผสาน |
คะแนนเอกฉันท์
ยก 3 (5:00)
|
ยก 3 (5:00) |
แดนนี คิงกาดฟิลิปปินส์
|
ฟิลิปปินส์ |
CENTURY PART I |
🐭 ONE FLYWEIGHT WORLD GRAND PRIX CHAMPION 🐭 |
|||||
ชนะ
การต่อสู้แบบผสมผสาน
คะแนนเอกฉันท์
คะแนนเอกฉันท์
ยก 3 (5:00)
|
การต่อสู้แบบผสมผสาน |
คะแนนเอกฉันท์
ยก 3 (5:00)
|
ยก 3 (5:00) |
ทัตสึมิตสึ วาดะญี่ปุ่น
|
ญี่ปุ่น |
DAWN OF HEROES |
Demetrious Johnson books his place in the ONE Flyweight World Grand Prix finals with a unanimous decision win over ultra-tough Tatsumitsu Wada! |