“ริตู โฟกาต” นักมวยปล้ำดาวดังแดนภารตะสู่เส้นทางการต่อสู้แบบผสมผสาน

Ritu Phogat defeats Nam Hee Kim at ONE AGE OF DRAGONS YK 7239

ชัยชนะทั้งสองไฟต์ใน วัน แชมเปียนชิพ ของ “ริตู โฟกาต” นักมวยปล้ำดาวดังของประเทศอินเดีย ที่ผันตัวเข้าสู่วงการศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับแฟนๆ แดนภารตะทั่วประเทศสมกับที่ตั้งตารอคอย

พวกเขาต่างรู้จักชื่อเสียงเรียงนามของ “ครอบครัวโฟกาต” เป็นอย่างดี ในฐานะครอบครัวนักมวยปล้ำชื่อดัง ซึ่งมี ริตู เป็นตัวแทนของประเทศในการก้าวสู่เวทีระดับโลก และกำลังจะเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับบ้านเกิดของเธอ

สายเลือดนักมวยปล้ำ

ริตู โฟกาต มาจากหมู่บ้าหนึ่งในรัฐหรยาณา เป็นลูกสาวคนที่สามของ มหาเวียร์ ซิงห์ โฟกาต นักมวยปล้ำและโค้ชโอลิมปิกชื่อดังระดับประเทศ เขาฝึกลูก ๆ ตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อหวังให้ประสบความสำเร็จในกิจการครอบครัว

ริตู เริ่มฝึกวิชาการปล้ำตั้งแต่วัย 8 ขวบ ซึ่งเวลานั้นผู้หญิงที่ฝึกศิลปะต่อสู้มักถูกมองอย่างอคติ แต่เธออธิบายว่าในเมื่อบรรดาพี่ๆ อย่าง คีตา, บาบิตา ได้แผ้วถางเส้นทางไปก่อนหน้าแล้ว ก็ถึงเวลาที่เธอเองก็ต้องเจริญรอยตามพวกเขาบ้าง

Ritu Phogat ONE KING OF THE JUNGLE open workout IMG_7192 scaled 3.jpg

(กลาง) ริตู (ขวา) มหาเวียร์ ซิงห์ โฟกาต พ่อของ ริตู

สำหรับฉัน มันชัดเจนอยู่แล้วว่าต้องมาเส้นทางนี้ พูดตามตรง ก่อนที่ฉันจะมายืนจุดนี้ ผู้คนก็พากันตั้งแง่กันมานานแล้ว ซึ่งพ่อกับพี่ๆ ก็ต้องอดทนและข้ามผ่านจุดนั้นกันมาได้ ฉันยังโชคดีที่มีเกราะป้องกัน”

คีตา และ บาบิตา กลายเป็นวีรสตรีของชาติหลังคว้าเหรียญทองและเหรียญเงินจากการแข่งขัน Commonwealth Games ในปี 2010 ดังนั้นเมื่อ ริตู ออกจากโรงเรียนหลังจากจบเกรดสิบ เพื่ออุทิศชีวิตที่เหลือให้กับกีฬา เธอจึงต้องแบกรับความกดดันและความคาดหวังไม่น้อย

พรสวรรค์ฟ้าประทาน

Ritu Phogat 590A9688.jpg

แม้จะใช้เวลาอีกหลายปีก่อนที่ ริตู จะมีโอกาสก้าวตามรอยเท้าพี่สาวทั้งสองในการแข่งขันระดับสากล แต่เธอก็ยอมรับว่า แม้แต่การฝึกง่ายๆ อย่างกระโดดใส่เบาะ ก็ต้องทำให้ได้เทียบเท่ามาตรฐานของพี่ๆ ซึ่งมันสร้างความกดดันให้เธอไม่น้อยทีเดียว

พี่ๆ สร้างบันไดขั้นแรกให้ฉันปีนตามขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว ฉันเป็นน้องสาวของคนเก่ง ทุกคนจึงคาดหวังในตัวฉันไว้มาก แต่เวลาลงแข่ง ฉันจะพยายามลืมเรื่องพวกนี้ให้หมดเพื่อจะได้มีสมาธิอยู่บนเวทีอย่างเต็มร้อย”

แม้จะมีความคาดหวังหนักอึ้งอยู่บนบ่า แต่เธอก็ทำผลงานได้ดี ริตู เก็บชัยชนะในการแข่งขันชิงแชมป์ระดับชาติสองรายการ และในการแข่งขัน Commonwealth Wrestling Championship ที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นรายการแข่งระดับสากลครั้งแรก และเธอสามารถคว้าเหรียญทองกลับมาฝากคนที่บ้านได้

Ritu Phogat ONE KING OF THE JUNGLE open workout IMG_6620.jpg

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันที่เธอภูมิใจที่สุดคือในรายการ World Under 23 Championships ที่ประเทศโปแลนด์ เธอคว้าเหรียญเงินให้กับประเทศ โดยในรอบชิงชนะเลิศ ริตู กับคู่แข่งมีคะแนนเท่ากันคือ 4-4 แต่แล้วก็เป็นอีกฝ่ายที่คว้าแต้มสุดท้ายไป

ถึงฉันแพ้ในการแข่งขันครั้งนั้นก็ไม่เป็นไร แต่ฉันก็ยังดีใจที่ได้เป็นนักกีฬาหญิงคนเดียวของอินเดียในจำนวนหลายคนที่ลงแข่งขัน โดยสามารถคว้าเหรียญรางวัลให้กับประเทศได้

ชีวิตบทใหม่

Ritu Phogat 590A2830.jpg

ช่วงที่ ริตู เป็นนักมวยปล้ำ เธอเป็นแฟนตัวยงของศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน และสั่งสมความทะเยอทะยานที่จะสัมผัสมันให้ได้สักครั้ง เพราะทักษะในการปล้ำจับล็อกที่เธอมีอยู่ นับว่าเป็นรากฐานที่ดีสำหรับต่อยอดไปสู่การต่อสู้แขนงนี้ได้

ฉันอยากลองทำอะไรที่แตกต่าง ฉันสงสัยว่าทำไมถึงไม่มีแชมป์โลกชาวอินเดียในกีฬาชนิดนี้บ้าง และความคิดนี้เองที่กระตุ้นให้ฉันอยากไขว่คว้ามันมาครอบครอง

ทว่าที่ที่เธออยู่ไม่มีสถานที่ฝึกซ้อมดีๆ ความหวังที่จะไล่ตามความฝันบนเส้นทางสายนี้จึงต้องอดใจรอไปก่อน จนกระทั่งเธอได้รับข้อเสนอจากยิมอีโวลฟ์ที่สิงคโปร์

Ritu Phogat ONE KING OF THE JUNGLE DC IMGL1700.jpg

มันเป็นโอกาสที่หามานาน แต่เธอจำต้องไกลบ้านเป็นระยะทางกว่า 2,500 ไมล์ และทิ้งทุกอย่างที่เธอคุ้นเคยไว้เบื้องหลัง ภายใต้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ของครอบครัว

ฉันคงไม่มีโอกาสยืนอยู่ตรงนี้หากไม่มีครอบครัวให้การสนับสนุน ฉันมักจะคุยกับพี่ๆ ก่อนที่จะพูดกับพ่อ พวกเธออยากให้ฉันตั้งใจทำตามความฝัน โดยบอกว่า ถ้าฉันอยากเอาดีทางนี้ ก็ลุยเลย ขอเพียงมุ่งมั่นและทุ่มเทอย่างที่สุด”

พี่ๆ ของฉันไปพูดเรื่องนี้กับพ่อ คือฉันไม่ได้พูดกับท่านตรงๆ และท่านก็สนับสนุนฉันเต็มที่เช่นกัน พ่อขอให้ฉันทำให้คนอินเดียภาคภูมิใจ ไม่ว่าจะเป็นกีฬาประเภทไหน จงไล่ตามมันด้วยความทุ่มเท”

เป้าหมายในอนาคต

Ritu Phogat Ritu Phogat.jpg

ริตู เดินทางมาถึงแดนสิงโตในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และเริ่มต้นฝึกฝนทักษะการยืนสู้ และบราซิลเลียนยิวยิตสูที่เธอจำเป็นต้องใช้ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ทั้งหมด รวมถึงกิจวัตรการฝึกฝนที่แตกต่างเป็นเรื่องลำบากไม่น้อย แต่แรงบันดาลใจจากผู้เป็นพ่อทำให้เธอไม่ย่อท้อให้กับความพยายามครั้งนี้

พ่อจะเตือนเสมอว่า ไม่ว่าจะทำอะไร จงทำให้เต็มที่ คติของท่านมักให้มองการณ์ไกล ทำงานหนัก ด้วยความมุ่งมั่น ฉันตั้งใจฟังคำสอนของท่านและทำตามมันให้ดีที่สุด”

ฉันอยากคว้าเข็มขัดแชมป์โลกของ วัน แชมเปียนชิพ มาครอง นั่นคือเป้าหมายเดียวของฉัน ฉันจะเป็นผู้หญิงอินเดียคนแรกที่เป็นแชมป์โลกในกีฬาการต่อสู้แบบผสมผสานให้ได้”

อ่านเพิ่มเติม: Movie Monday: “Dangal” เรื่องจริงผ่านจอของครอบครัวนักสู้หญิง “ริตู โฟกาต”

ดูเพิ่มเติมในหมวด บทความ

1820285
11 Anatoly Malykhin VS Oumar Kane one 169 (33)
06 Rungrawee vs George Jarvis OL85 (2)
06 Parham Gheirati vs George Mouzakitis (32) OL84
OFN13 Marcus Almeida VS Oumar Kane (1)
OL75_03 Shir Cohen VS Francisca Vera (25)
youssef assouik 16 9
Thai champs cover update
OL58 Seksan vs Yutaro Asahi (62)
Jonathan Haggerty vs Felipe Lobo OFN19 (52)
Shadow Mom
Suablack Tor Pran49 vs Craig Coakley OL46 (17)