หลากหลายบทบาทของ “มิทช์ ชิลสัน” ก่อนมาเป็นผู้บรรยายของ วัน แชมเปียนชิพ

Mitch Chilson BBB_3938

“The Dragon” มิทช์ ชิลสัน เป็นหนึ่งในบุคคลที่แฟนๆ วัน แชมเปียนชิพ คุ้นหน้ากันดี ด้วยบทบาทหน้าที่การเป็นพิธีกรและผู้ดำเนินรายการ ทำให้เขาอยู่หน้ากล้องเป็นประจำ แต่จริงๆ แล้ว มิทช์ ทำอะไรได้มากกว่านั้น ซึ่งหากแฟนๆ ที่ติดตาม วัน แชมเปียนชิพ ตั้งแต่แรกๆ ก็คงจะเคยเห็นเขาบนสังเวียนแห่งนี้มาแล้ว

นักสู้ชาวญี่ปุ่น-อเมริกัน นอกจากจะเป็นพิธีกรและผู้ดำเนินรายการรูปหล่อที่แฟนๆ คุ้นหน้าแล้ว เขายังคลุกคลีอยู่ในวงการนี้ในฐานะนักกีฬามาหลายปี เรียกว่าตลอดทั้งชีวิตเขาวนเวียนอยู่กับศิละการต่อสู้ เคยลงแข่งชกมวยไทย การต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) เป็นเทรนเนอร์ส่วนตัว โค้ช นักแสดง และงานหลากหลายแขนงที่เกี่ยวเนื่องกัน

และนี่คือเรื่องราวของเขา พร้อมกับจุดเปลี่ยนชีวิตที่เราอยากเล่าให้คุณฟังเพื่อจะได้รู้จักเขาคนนี้ให้มากยิ่งขึ้น

ย้ายสู่แดนสิงโต

ONE Championship commentator Mitch Chilson

ปี พ.ศ.2548 ขณะที่ มิทช์ ทำงานเป็นเทรนเนอร์ส่วนตัว ควบคู่ไปกับการชกมวยไทย เพื่อนคนหนึ่งบอกเขาว่าสิงคโปร์คือฮาวายแห่งตะวันออกความรู้สึกรักการผจญภัยที่มีในตัวกระตุ้นให้เขาย้ายไปที่ “แดนสิงโต” ในปีนั้น

ศิลปะการต่อสู้ยังเป็นเรื่องที่ห่างไกลผู้คน เขาต้องเดินทางหลายไมล์เพื่อไปซ้อมมวย และมีผู้เรียนบราซิลเลียนยิวยิตสูเพียงสองคน จนกระทั่งยิม อีโวล์ฟ เปิดทำการในปี 2552 บรรดาแชมป์โลกมากมายเรียงแถวกันมาที่นี่ในฐานะผู้ฝึกสอน ทำให้เขาได้รับโอกาสเข้าร่วมทีม และเปลี่ยนวิถีชีวิตไปมากมาย

“ช่วงนั้น ผมเป็นนักแสดง นายแบบ และบริหารยิมด้วย แต่ก็เพิ่งถอนตัวออกมา และพอมีเวลาที่จะลองลุยกับงานอื่น ผมเป็นคนแรกที่เข้าไปอยู่กับ อีโวล์ฟ ไฟต์ทีม และนั่นคือจุดเริ่มต้น”

หลังร่วมทีมอีโวล์ฟ มิทช์ ทุ่มเทให้กับการฝึกฝนและเพิ่มทักษะการต่อสู้ ทั้งบราซิลเลียนยิวยิตสูและมวยปล้ำ ก่อนจะขึ้นเวทีแข่งขัน มาร์เชียล คอมแบต ตั้งแต่ก่อนที่ วัน แชมเปียนชิพ จะถือกำเนิดขึ้น

แต่หลังจากที่ วัน แชมเปียนชิพ จัดตั้งขึ้นในปี 2554 ซึ่งขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า วัน ไฟต์ติง แชมเปียน เขาก็ได้รับโอกาสให้ประเดิมอีเวนต์แรกที่มีชื่อว่า ONE: CHAMPION VS. CHAMPION

ผมชอบสิ่งที่ ชาตรี สื่ออกมา (ชาตรี ศิษย์ยอดธง ประธานและซีอีโอของ ONE) เขาอยากให้มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ ซึ่งมันมีต้นกำเนิดจากเอเชีย แต่ที่นี่กลับไม่มีซูเปอร์สตาร์ ดังนั้นเขาจึงให้โอกาสกับผม ตอนนั้นผมเป็นโค้ชที่ อีโวล์ฟ เช่นเดียวกับแชมป์โลกอีกหลายคนจากทั่วโลก สิ่งที่เราทำคือฝึกซ้อมในตอนเช้า เข้าคลาสสอน และก็ฝึกซ้อมอีกที การได้มีโอกาสโชว์ฝีมือในวัน แชมเปียนชิพ เป็นอะไรที่เจ๋งมาก

จับไมค์หน้ากล้อง

ONE Championship commentator Mitch Chilson in Manila, Philippines

มิทช์ ลงแข่งขันเวทีระดับโลก 5 ไฟต์ ก่อนจะตัดสินใจลดบทบาทนักกีฬาของตัวเองลง เพื่อไปรับงานเป็นผู้อำนวยการงานเทรนเนอร์ส่วนบุคคลให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีเครือข่ายใน 6 ประเทศ เวลานั้นเขาต้องออกทีวีบ่อยมาก เพื่อให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายสู่ผู้ชม แต่เขากลับไม่มั่นใจในทักษะการพูดของตัวเอง

สมัยที่ผมเป็นแชมป์ของ มาร์เชียล คอมแบต เขาเคยเสนอให้ผมเป็นผู้บรรยายการแข่งขัน แต่ตอนนั้นผมทำได้แย่มาก พูดติดๆ ขัดๆ และไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องทำยังไง กระทั่งผมมาทำรายการทีวี และเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นเมื่อต้องอยู่หน้ากล้อง”

“เมื่อทาง ONE เสนองานให้ผม ผมชอบงานนี้นะ งานที่ได้พูดถึงนักกีฬา วิเคราะห์เกมการต่อสู้ และบอกเล่าเรื่องราวของนักสู้ ผมเริ่มฝึกฝนตัวเองมากขึ้นโดยเอาคลิปการแข่งขันมาเปิดดูและฝึกบรรยายไปเรื่อยๆ เป็นเวลาสองสามเดือน ซึ่งมันทำให้ผมมั่นใจมากขึ้น และรู้สึกเหมือนอยู่ถูกที่ถูกเวลา”

เมื่อ มิทช์ ใช้เวลาอยู่กับไมโครโฟนมากขึ้น เขาก็ยิ่งเกิดความชำนาญและเป็นที่ต้องการตัว ทาง วัน แชมเปียนชิพ เสนอให้เขาเป็นผู้บรรยายในทุกอีเวนต์ แต่การทำข้อตกลงนั้นมันไม่ใช่เรื่องง่าย

ด้วยงานที่ผมทำอยู่ในฐานะเทรนเนอร์ส่วนตัวอันดับต้นๆ ของเอเชีย และเริ่มจะมีชื่อเสียงในรายการทีวี มันเป็นงานในฝันของผม ตราบใดที่ยังมีเรื่องการออกกำลังกายเข้ามาเกี่ยวข้อง”

ผมได้รับเงินเดือนจากองค์กรสูง แถมมีรถและอพาร์ตเมนต์ประจำตำแหน่ง แต่งานผู้บรรยายก็สนุกสำหรับผมมาก เมื่อผมทำหน้าที่ตรงนั้น ผมเหมือนเด็กๆ ที่กระโดดโลดเต้นด้วยความตื่นเต้น ผมรู้สึกเลือดลมสูบฉีดไม่ต่างจากสมัยที่ผมเป็นนักสู้อยู่ในสังเวียน

เมื่อพวกเขาถามผมว่า อยากทำงานทุกอีเวนต์ไหม ผมไม่อยากจะเชื่อหูเลย ผมต้องเลือกระหว่างงานที่เป็นความฝันของผม ตำแหน่งอาวุโสที่ผมจะอยู่กับมันได้เป็นสิบปี หรือโอกาสครั้งเดียวในชีวิตที่อยู่ตรงหน้า ในที่สุดผมก็คว้ามัน กระทั่งตอนนี้ผมก็แทบไม่เชื่อตัวเองว่าผมมายืนอยู่ตรงนี้ได้ยังไง”

ไมเคิล และ มิทช์ สองคู่หู

Michael Schiavello and Micth Chilson ONE Championship commenators

ในปี พ.ศ.2560 เมื่อ “The Voice” ไมเคิล เชียเวลโล เข้าร่วมทีมถ่ายทอดสดกับ วัน แชมเปียนชิพ ก็เป็นการถือกำเนิดคู่หูของวงการศิลปะการต่อสู้ “ไมเคิล & มิทช์” ด้วยเคมีที่ลงตัวและสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดของทั้งคู่ กลายเป็นสัญลักษณ์ของรายการที่แฟนๆ คุ้นหน้าคุ้นตา

“ไมเคิล ถือเป็นผู้บรรยายระดับไอคอนของวงการศิลปะการต่อสู้ ผู้คนควรต้องได้อ่านเรื่องราวของเขาในหนังสือ “Goodnight Irene” แล้วจะรู้ว่าเขาคลุกคลีอยู่กับวงการนี้มานานแค่ไหนแล้ว”

“ผมเคยเป็นนักมวยปล้ำตัวใหญ่ในยุค 80 และเคยทำงานร่วมกับคนดังๆ มาก่อน ผมคิดเสมอว่าพวกเขาไม่อยากช่วยเหลือ หรือไม่บอกเคล็ดลับอะไร เพราะมันเป็นสภาพแวดล้อมของการทำงานที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน แต่นั่นไม่ใช่กับ ไมเคิล”

เราร่วมงานกันมาแล้วกว่า 50 โชว์น่าจะได้ และเขาก็คอยช่วยเหลือผมตลอด เขาอธิบายทุกอย่างและพยายามเปิดโอกาสให้ผมโชว์ของให้มากที่สุด เขามีประสบการณ์มากมาย ซึ่งคนส่วนใหญ่มองไม่เห็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ด้วยซ้ำ มันเหมือนกับได้ทำงานร่วมกับโปรดิวเซอร์หรือผู้กำกับครับ

ปัจจุบัน “มิทช์ ชิลสัน” กลายเป็นที่รักของแฟนๆ ใน “บ้านแห่งศิลปะการต่อสู้” วัน แชมเปียนชิพ เป็นหน้าเป็นตา เป็นสัญลักษณ์ขององค์กร แต่เขาไม่เคยหยุดกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อทำหน้าที่อันทรงเกียรตินี้อย่างดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม: “นรา ชมภูนิช” MC เสียงทรงพลังของ วัน แชมเปียนชิพ

ดูเพิ่มเติมในหมวด บทความ

OFN13 Marcus Almeida VS Oumar Kane (1)
OL75_03 Shir Cohen VS Francisca Vera (25)
youssef assouik 16 9
Thai champs cover update
OL58 Seksan vs Yutaro Asahi (62)
Jonathan Haggerty vs Felipe Lobo OFN19 (52)
Shadow Mom
Suablack Tor Pran49 vs Craig Coakley OL46 (17)
Saemapetch VS Felipe Lobo60
Dimitri kovtun
Jompadej Nupranburi vs Kaichon Sor Yingcharoenkarnchang OL55 (1)
Cover_OFN24_Amy01