เปิดปูมชีวิต “ซ้ายอุกกาบาต” กุหลาบดำ สจ.เปี๊ยกอุทัย ยอดมวยซ้ายแห่งยุค

Kulabdam Sor. Jor. Piek Uthai fires his trademark left hand at Bobo Sacko

“ซ้ายอุกกาบาต” กุหลาบดำ สจ.เปี๊ยกอุทัย หนึ่งในนักมวยแม่เหล็กแห่งยุค ผู้เป็นเจ้าของหมัดซ้ายทรงพลังอันขึ้นชื่อไปทั่วประเทศ เคยกดคู่ชกหลับกลางอากาศมานับครั้งไม่ถ้วน แม้แต่ “แสงมณี คลองสวนพลูรีสอร์ต” ที่ขึ้นชื่อว่าปราบยากนักหนา ยังดับวูบกลางเวที วัน แชมเปียนชิพ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาด้วยกำปั้นล้มช้างของ กุหลาบดำ

 

ลูกชาวนา

กุหลาบดำ.jpg

กุหลาบดำ และพ่อแม่

 

กุหลาบดำ เป็นลูกชาวนา พ่อชื่อจำเริญ แม่ชื่อนางเหียด มีสิทธิ์ดี บ้านเกิดอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เขามีชื่อเล่นว่า “เขียว” เป็นลูกคนโตในบรรดาพี่น้อง 5 คน พ่อแม่ตั้งชื่อจริงให้ว่า นายสมบูรณ์ น้องชายคลานตามกันมาชื่อ นายอุดมศักดิ์ (รายนี้เป็นนักมวยชื่อ ไทย สจ.เปี๊ยกอุทัย) และ 3 คนหลังเป็นหญิงล้วน ชื่อ หิรัญญา, หิรัญ และ เบญจพร

อาชีพทำนาของพ่อแม่ต้องรอพึ่งฟ้าพึ่งฝน บางปีผลผลิตอาจจะทำเงินพอประคับประคองให้เลี้ยงดูสมาชิกทั้ง 7 คนในครอบครัวได้ แต่บางปีพวกเขาก็ไม่โชคดีนัก

“ตอนเด็กๆ ผมจำได้ พวกเราลำบาก ฐานะทางบ้านยากจนมาก บ้านผมทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พ่อแม่ทำนา เลี้ยงวัว ทำมาตั้งแต่ก่อนผมเกิดซะอีก ถือเป็นอาชีพสุจริตและเลี้ยงพวกผมจนเติบโตทุกวันนี้ ชีวิตวัยเด็กก็เหมือนเด็กบ้านนอกทั่วไป ผมชอบปั่นจักรยานไปโรงเรียนกับน้องชาย เวลาว่างพวกเราก็จะไปตกปลาเล่นกัน”

 

สังเวียนแรกในชีวิต

จงเก็บทุกคำดูถูก มาผูกให้เป็นพลัง

Posted by กุหลาบดำ ส.จ.เปี๊ยกอุทัย on Thursday, March 12, 2020

 

กุหลาบดำ ชื่นชอบมวยมาตั้งแต่เด็ก โดยเขาเริ่มรู้จักมวยไทยในงานวัดแถวบ้าน

“ผมจำได้ว่า เห็นเด็กในหมู่บ้านขึ้นไปชกมวยบนเวที ผมคิดว่ามันสนุกดี ผมอยากลองดูบ้าง พอกลับถึงบ้าน ผมบอกพ่อว่าอยากชกมวย ทีแรกพ่อไม่ยอม แกเป็นห่วงกลัวผมจะเจ็บตัว แต่ผมดื้อ จนสุดท้ายพ่อก็ยอม”

ความยากจนเป็นอุปสรรคสำคัญของ กุหลาบดำ ที่ต้องเผชิญเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไปในสุรินทร์ การหาค่ายมวยดี ๆ ที่มีอุปกรณ์การซ้อมครบครันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย

“พ่อผมมีเพื่อนที่เปิดสอนมวยที่บ้าน และมีเด็กสองสามคนไปซ้อมด้วย เขาไม่ได้เป็นครูมวยหรือเป็นนักมวย แต่เขารักในกีฬามวยไทย พวกเราไม่มีอุปกรณ์อะไรมาก แค่กระสอบสองสามใบที่ห้อยกับต้นไม้ ผมซ้อมกับพื้นดินธรรมดา ไม่มีเวทีมวยด้วยซ้ำ”

แม้สถานที่จะไม่เอื้ออำนวย แต่ก็เพียงพอในการเตรียมพร้อมให้ กุหลาบดำ ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 8 ขวบกำลังเรียนหนังสืออยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก้าวขึ้นสังเวียนครั้งแรกในชีวิต ที่งานฝังลูกนิมิตที่วัดบ้านจาน ซึ่งอยู่ละแวกบ้านที่จังหวัดสุรินทร์ หลังจากฝึกซ้อมได้เพียงเดือนเดียว

“หลังจากชกเสร็จ ผมรู้สึกแค่ว่ามันสนุก ผมชนะและได้เงินค่าตัว 150 บาท พอชกได้สัก 5-6 ครั้ง ผมก็เริ่มรู้ตัวว่าหมัดหนัก เพราะต่อยคู่แข่งร่วงไปหลายคน”

 

ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

ทุกคนมีวันตกต่ำ เพราะฉะนั้นอย่าเหยียบย่ำชีวิตคนอื่นเสร็จไปอีกวันกับการซ้อม😋😋😘😘😍😍

Posted by กุหลาบดำ ส.จ.เปี๊ยกอุทัย on Saturday, February 22, 2020

 

พ่อของ กุหลาบดำ เห็นแววลูกชายว่าเอาทางนี้ดูท่าน่าจะรุ่ง จึงทำค่ายมวยเล็กๆ  ของตัวเองในชื่อ “ส.กัลยาณี” โดยมี นายวุฒิธิชัย อินทรามะ เป็นเทรนเนอร์คนแรก ซึ่งชื่อค่ายก็เอามาจากชื่อจริงของภรรยา นายวุฒิธิชัย นั่นเอง

กุหลาบดำ มีชื่อเล่นว่า “เขียว” จึงได้ชื่อชกมวยในสมัยแรก ๆ ว่า “เขียวมรกต ส.กัลยาณี” เดินสายสั่งสมกระดูกมวยที่เมืองหมอแคนแดนอีสานจนมีรายได้จากการชกมวยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พอที่จะเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้

แต่หลังจากผ่านไปสักระยะเมื่อ กุหลาบดำ เข้าสู่ช่วงวัยรุ่น วัยกำลังหัวเลี้ยวหัวต่อ สมาธิและความมุ่งมั่นของเขาก็เริ่มลดน้อยถอยลง ประกอบการเดินทางไปชกทั่วภาคอีสานทุกอาทิตย์ทำให้เขาเริ่มไขว้เขว

“ตอนนั้นผมไม่อยากต่อยมวยแล้ว และไม่ค่อยได้ไปซ้อมมวยด้วย ผมอยากออกไปเที่ยวกับเพื่อน ผมแพ้ 5 ไฟต์ติดต่อกันและเริ่มท้อ”

โชคดีที่เขามีพ่อที่เข้าใจ และคอยให้กำลังใจในช่วงที่เขาหมดความมุ่งมั่นในชีวิต จนกระทั่ง กุหลาบดำ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อายุประมาณ 15-16 ปี เพื่อนของพ่อซึ่งทำงานเป็นเทรนเนอร์อยู่ที่ค่ายของอดีตฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก “สมรักษ์ คำสิงห์” ได้ชักชวนเขาเข้ากรุงเทพฯ

 

ฝึกมวยกับปรมาจารย์

69096005_1191090507765569_3579783386413137920_n.jpg

 

กุหลาบดำ ตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ตามคำชักชวนของเพื่อนพ่อ ซึ่งนับว่าเป็นความโชคดีของเขาที่ได้มีโอกาสเสริมเคล็ดวิชากับ “ปรมาจารย์สมองมวย” ระดับประเทศอย่าง “สมรักษ์ คำสิงห์” ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ให้กับ “โคตรมวยสารคาม” แสนชัย ส.คิงสตาร์ (พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม)” หนึ่งไอดอลที่เขาชื่นชอบ

ขณะอยู่กับ สมรักษ์ เขาส่อเค้าเป็นมวยเก่ง ทว่าชีวิตเด็กหนุ่มที่เกิดและเติบโตในท้องไร่ท้องนา พอเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ จึงรู้สึกอัดอัดและปรับตัวได้ยาก หลังเรียนวิชากับ สมรักษ์ ได้ประมาณ 6 เดือน ก็ตัดสินใจอำลาอาจารย์ และหันหลังให้แดนศิวิไลซ์กลับไปอยู่สุรินทร์บ้านเกิดเหมือนเดิม

“ผมชอบอยู่บ้านนอก ไม่ชอบอยู่กรุงเทพฯ รู้สึกว่าหลายอย่างมันวุ่นวาย มันเป็นโอกาสที่ดีในอาชีพ แต่ผมกลับไม่มีความสุขเลย ผมอยากกลับบ้าน จำได้ว่าวันนั้นผมชนะน็อก ชกเสร็จผมกลับบ้านทันที พี่สมรักษ์ก็โทรตามให้ผมกลับไป แต่ผมบอกว่าผมอยู่กรุงเทพฯ ไม่ได้”

 

ชื่อใหม่ “กุหลาบดำ”

ในวันทีฉันท้อแท้ แต่ฉันก็ยังมีครบครัวทีเป็นกำลังใจให้ มอนิ่งยามเช้าครับยามเช้าสดชื่นเสมอ😘😘😍

Posted by กุหลาบดำ ส.จ.เปี๊ยกอุทัย on Saturday, December 21, 2019

 

เมื่อกลับไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิด ช่วงนั้น “สจ.ปภาวิชญ์ บุษวะดี” หรือที่คนส่วนใหญ่เรียก “สจ.เปี๊ยกอุทัย” กำลังเปิดค่ายมวยที่จังหวัดอุทัยธานี ฮีโร่สมรักษ์ จึงแนะนำลูกศิษย์ไปเก็บตัวอยู่ที่นั่น และดูเหมือนว่าจะถูกโฉลกกันอย่างจัง

“ผมเริ่มมาอยู่ค่าย สจ.เปี๊ยกอุทัย ราวปี 2557 โดยได้ชื่อใหม่ว่า กุหลาบดำ ช่วงสามเดือนแรกไม่ค่อยมีใครสนใจผมเท่าไหร่ เพราะในค่ายมีนักมวยที่เก่งกว่าหลายคนซึ่งมาจากค่ายของพี่สมรักษ์ เช่น แลมพาร์ด, ใจสู้, ฟ้าสีทอง ต่างก็เป็นมวยเงินหมื่นเงินแสนทั้งนั้น”

เมื่อช่วงหนึ่งที่ทางค่ายเริ่มมีเทรนเนอร์ไม่เพียงพอ ก็ได้ “อาจารย์สมพร แก้วกัณหา” อดีตนักมวยฝีมือดีจากจังหวัดนครสวรรค์ มาเป็นเทรนเนอร์คนใหม่ อาจารย์สมพร นั้นชอบมวยซ้าย พอเห็น กุหลาบดำ มีหมัดซ้ายหนักแน่น เตะกระสอบแรง ก็เหมือนต้องชะตา จึงเป็นเทรนเนอร์คู่ใจ กุหลาบดำ มาตลอดจนถึงปัจจุบัน

 

โด่งดังถึงขีดสุด

กุหลาบดำ ได้รับลุมพินี ชนะน็อก เกงจิ ที่ญี่ปุ่น.jpg

กุหลาบดำ เมื่อครั้งชนะน็อก “เกงจิ อูเมโนะ” ที่ญี่ปุ่น

 

นักมวยเจ้าของสโลแกน “เกิดเป็นไก่ต้องชน เกิดเป็นคนต้องสู้” เปิดตัวชกที่สนามมวยเวทีลุมพินี เก็บชัยชนะได้หลายหน ประกอบกับเดินสายชกในแถบภาคกลาง จนหาตัวสู้ด้วยไม่มี

ช่วงปี 2559-2560 เป็นปีที่ กุหลาบดำ ประสบความสำเร็จอย่างมาก จากสถิติที่ไม่เคยแพ้ใคร 7 ไฟต์ติดต่อกันที่สนามมวยเวทีช่อง 7 สี จนได้เสื้อสามารถ และโด่งดังถึงขีดสุด

หลังจากนั้น กุหลาบดำ ได้ครองแชมป์สนามมวยเวทีลุมพินี และ แชมป์ประเทศไทย จากที่เคยเป็นนักมวยแถวหลังจึงขยับขึ้นมาอยู่แถวหน้า สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับค่าย

ไฟต์หนึ่งที่เขาประทับใจ คือเมื่อครั้งเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เจอกับยอดมวยเจ้าถิ่น “เกงจิ อูเมโนะ” เขายัดเยียดความปราชัยด้วยการไล่ทุบเอาชนะน็อกไปได้ในยกที่ 4 คว้าแชมป์สนามมวยเวทีลุมพินี (ที่ว่าง) รุ่นไลต์เวต 135 ปอนด์ มาครองได้สำเร็จ เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2561

ถือเป็นการดับฝันและล้างแค้น เกงจิ ไปในตัว เพราะก่อนหน้านี้นักมวยญี่ปุ่นเก็บสถิติไม่เคยแพ้ใครในบ้านเกิดมาหลายครั้ง ขนาดเอานักชกมือฉมังอย่าง “ยอดเหล็กเพชร อ.ปิติศักดิ์” ไปชนเพื่อชิงแชมป์สนามมวยเวทีราชดำเนินรุ่นเดียวกัน ก็ยังเอาพ่ายคะแนนกลับมา

 

เส้นทางสังเวียนโลก

Muay Thai fighter Kulabdam delivers an uppercut to Sangmanee's head

 

แม้ทุกวันนี้ชื่อเสียงบนสังเวียนเมืองไทยของเขาจะเปลี่ยนไปเหมือนพลิกฝ่ามือ แต่ กุหลาบดำ ก็ยังคงรักไอดิน กลิ่นทุ่งหญ้า ชอบอยู่บ้านนอกคอกนาตามประสาอีสานบ้านเฮา

ยิ่งได้ซ้อมอยู่กับค่าย สจ.เปี๊ยกอุทัย ซึ่งมีเทรนเนอร์ดี อุปกรณ์มวยเพียบพร้อม รวมถึงสภาพแวดล้อมชนบทที่เขาคุ้นเคย ตรงใจ “ซ้ายอุกกาบาต” เป็นที่สุด

ด้วยชื่อเสียงและผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ทำให้ กุหลาบดำ ได้รับโอกาสให้เป็นหนึ่งในนักมวยไทยไม่กี่คนที่ได้เซ็นสัญญากับรายการกีฬาต่อสู้สุดยิ่งใหญ่ระดับโลก วัน แชมเปียนชิพ และได้ประเดิมสนามแข่งขันเมื่อ 6 กันยายน 2562 ที่โฮจิมินห์ ซิตี้ ประเทศเวียดนาม

ผ่านศึกระดับโลกไปเพียงไฟต์เดียว เขาก็มีชื่อปรากฏอยู่ในทัวร์นาเมนต์ ONE มวยไทย รุ่นแบนตัมเวต รอบรองชนะเลิศ ชิงเดือดกับยอดมวยแถวหน้าหาตัวจับยากอย่าง “แสงมณี คลองสวนพลูรีสอร์ต” ที่ใครก็มองว่าเขาเป็นมวยรอง แต่สุดท้ายเขาใช้หมัดชัตดาวน์มวยเอกประเทศไทยหงายหลังผึ่งก่อนหมดยกแรกไปอย่างช็อกโลก

ปัจจุบัน กุหลาบดำ ในวัย 21 ปี กำลังศึกษา กศน.ชั้นมัธยมปลาย พร้อมกับดูแลครอบครัวซึ่งมีภรรยา “น้องใหม่” วนิดา เข็มเพชร ซึ่งเป็นคนสุรินทร์ถิ่นเดียวกัน มีพยานรักด้วยกัน 1 คนคือ “น้องแชมป์” ด.ช.จักรภัทร มีสิทธิ์ดี

 

อ่านเพิ่มเติม: 

ดูเพิ่มเติมในหมวด บทความ

NL 1852
Jonathan Haggerty Superlek Kiatmoo9 ONE 168 65
Superlek Kiatmoo9 vs Takeru Segawa ONE 165 (17)
ONE167 Kade Ruotolo VS Blake Cooper (20)
Jonathan Haggerty Superlek Kiatmoo9 ONE 168 80
Anatoly Malykhin Oumar Kane ONE 169 78
1860141 (1)
Lumpinee Bonus 1920x1080px
Lumpinee Contract 1920x1080px
Kiamrian Abbasov Christian Lee ONE on Prime Video 4 1920X1280 34
1820285
11 Anatoly Malykhin VS Oumar Kane one 169 (33)