เปิดปูมชีวิต “แสตมป์ แฟร์เท็กซ์” กว่าจะเป็นแชมป์โลกสองประเภทกีฬา

Stamp Fairtexmakes her entrance at ONE A NEW TOMORROW

กว่าจะได้ครอบครองเข็มขัดแชมป์โลก ONE คิกบ็อกซิ่งและมวยไทยอย่างทุกวันนี้ “แสตมป์ แฟร์เท็กซ์” ต้องสร้างเกราะอันแข็งแกร่งในใจ เพื่อข้ามผ่านจุดที่ใครก็มองว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะวงการมวยไทยโดยเฉพาะหลายสิบปีก่อนแทบไม่มีที่ยืนให้มวยหญิง ความนิยมน้อย ขาดองค์กรสนับสนุน จนเกือบทำให้เธอล้มเลิกอาชีพนี้และหันไปเรียนครูเพื่อยึดเป็นอาชีพในอนาคต

แต่เมื่อองค์กรศิลปะการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง วัน แชมเปียนชิพ ได้เปิดเวทีให้นักสู้หญิงทั่วโลกลงสนามแข่งขันทั้งในกติกาการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA), คิกบ็อกซิ่ง และมวยไทย จึงทำให้เพศหญิงซึ่งถูกมองว่าเป็นเพศที่อ่อนแอ ลุกขึ้นมาโชว์ศักยภาพด้านการต่อสู้ที่เคยถูกกดอยู่ภายใน และฉายแววอันโดดเด่นบนเวทีระดับโลก ซึ่งหลายคนพบกับความสำเร็จไม่แพ้นักสู้ชาย

แสตมป์ นักมวยสาววัย 22 ปีจากระยอง เพียงปีกว่าที่เธอเข้ามาอยู่ใน วัน แชมเปียนชิพ ชีวิตเหมือนพลิกฝ่ามือ เธอมีที่ยืน มีโอกาสแสดงศักยภาพของตัวเอง รวมถึงได้รับการยอมรับ ไม่ใช่แค่ในประเทศแต่เป็นทั่วโลกที่จับตามองเธออย่างชื่นชมในฐานะ แชมป์โลก ONE สองประเภทกีฬาการต่อสู้หญิงคนแรกและคนเดียวของโลก

วันนี้เราจะพาทุกท่านย้อนรอยชีวิตของแชมป์โลกสาวรายนี้ ที่กว่าจะข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ มาได้ เส้นทางมันไม่ได้สวยงามเหมือนอย่างที่เราเห็นเธอในปัจจุบัน

เด็กหญิงในครอบครัวมวยไทย

82241709_601900603940135_3606744300584435712_n.jpg

เส้นทางสายหมัดมวยของ แสตมป์ เริ่มขึ้นที่บ้านเกิดในจังหวัดระยอง อันเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของไทย คนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกร เช่นเดียวกับครอบครัวของ แสตมป์ ที่ทำสวนยาง ปลูกทุเรียน และเงาะ

พ่อของเธอเป็นอดีตนักมวยไทยชื่อ “วิสันต์เล็ก ลูกบางปลาสร้อย” ส่วนลุงมีค่ายมวยเล็กๆ เป็นของตัวเองโดยใช้ชื่อว่า “เกียรติบุญเกิน” ซึ่งเปรียบเสมือนค่ายมวยของครอบครัวที่ทุกคนใช้ฝึกมวยด้วยกัน

“พ่อเป็นนักมวยและชอบดูมวย แสตมป์ ก็นั่งดูมวยกับพ่อด้วย เราเคยเห็นพ่อและพี่ชายลูกของลุงซ้อมมวยด้วยกัน เราเป็นเด็กก็ยังไม่ทันได้สนใจอะไร ส่วนใหญ่จะช่วยพ่อแม่ในสวนมากกว่าค่ะ”

เริ่มต้นอย่างไม่ธรรมดา

64515869_1320719204764314_7670760544969687040_n.jpg

เมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียน เด็กหญิงวัยอนุบาลที่ตัวเล็กกว่าคนอื่นในชั้น ก็ถูกหยอกล้อด้วยคำพูดบ้าง และบางครั้งก็ถึงกับเจ็บเนื้อเจ็บตัวกลับบ้าน

“พอเข้าอนุบาล แสตมป์ ถูกเพื่อนแกล้งที่โรงเรียนเพราะตัวเล็กกว่าเขา เราเคยเห็นพ่อและพี่ชายซ้อมมวยก็เลยอยากซ้อมบ้าง เผื่อเอาไว้โต้ตอบได้ ถ้าไม่เห็นเขาซ้อมกัน เด็กขนาดนั้นเราก็คงไม่รู้เรื่อง”

เด็กวัย 5 ขวบที่เริ่มสวมนวมโดยหวังจะใช้วิชามวยไทยป้องกันตัว แต่กลายเป็นว่าความมุมานะพยายาม และความรักที่มีต่อศาสตร์การต่อสู้แขนงนี้ ทำให้เธอก้าวขึ้นสังเวียนแข่งขันอย่างหาญกล้าตามรอยของพ่อ ดังโบราณว่า ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น

“แสตมป์ตื่นตั้งแต่ตี 5 ออกวิ่งทุกวัน จากนั้นราวๆ เจ็ดโมงเช้า ก็กลับมาอาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน แสตมป์ ไม่ค่อยทันเข้าแถวเคารพธงชาติหรอกค่ะ

แรกๆ แม่ของเธอไม่เห็นด้วยที่จะให้ลูกสาวชกมวย เพราะไม่อยากเห็นลูกเจ็บตัว ไหนจะคำทัดทานของชาวบ้านที่มองว่าเป็นการทรมานร่างกายเด็ก เพียงเพราะเธอเป็นเด็กผู้หญิงจึงน่าจะสนใจเรื่องการเรียนมากกว่าจะมาเป็นมวยหญิงซึ่งไม่มีอนาคต

เกือบล้มเลิกความคิด

เมื่อครั้งได้ขึ้นเวทีแข่งขันครั้งแรก แสตมป์ ก็โชว์ผลงานชิ้นโบว์แดงด้วยการน็อกคู่ต่อสู้ ความรู้สึกดีใจและมั่นใจในตัวเองก็เริ่มมีมากขึ้น จนทำให้เธออยากขึ้นสังเวียนครั้งต่อๆ ไป

“พอระฆังดัง แสตมป์ ก็บุกเข้าไปตีเข่าคู่ต่อสู้เลยค่ะ แล้วก็ชนะตั้งแต่ยกแรกนั่นเลย”

“ตอนนั้น แสตมป์ เป็นมวยหญิงคนเดียวในหมู่บ้าน ซึ่งช่วงนั้นคนยังไม่ค่อยเปิดรับนักมวยหญิงสักเท่าไหร่ พูดตรงๆ อาชีพนักมวยสำหรับผู้หญิงอาจดูไม่ค่อยเข้ากัน ช่วงนั้นก็มีคนสบประมาทเราเยอะ เพราะเขายังไม่ยอมรับ”

แม้ แสตมป์ จะมีพรสวรรค์ทางด้านมวยไทยอย่างเด่นชัด จนถึงขั้นได้รับการคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของสารคดีชุด Buffalo Girls แต่เมื่อความนิยมของผู้ชมมวยหญิงน้อย ก็ทำให้เธอมีโอกาสขึ้นชกน้อยตามไปด้วย ประกอบกับเจอคู่ชกซ้ำๆ มาหลายครั้งจนกระทั่งเริ่มหาคู่ชกยากขึ้น หลังผ่านการชกหลายสิบไฟต์ และได้เป็นแชมป์ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เธอจึงหยุดชกมวยไปถึง 8 ปี

จากที่เคยตั้งใจจะยึดอาชีพนักมวยเป็นงานหลัก เธอต้องกลับมาอยู่ในโลกของความจริงว่าอาชีพนี้อาจไม่มีทางให้เดินต่อ จึงเริ่มคิดที่จะมีอาชีพเหมือนอย่างผู้หญิงทั่วไป โดยตั้งใจจะเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ และหากมีเวลาว่างก็จะชกมวยเป็นอาชีพเสริม

ชีวิตเหมือนพลิกฝ่ามือ

Stamp Fairtex made jaws drop with her knockout OWS debut!

⏮ FROM THE ARCHIVES ⏮Stamp Fairtex made jaws drop with her knockout OWS debut!Singapore | 22 February | 7:00PM | LIVE and FREE on the ONE Super App: http://bit.ly/ONESuperApp | TV: Check local listings for global broadcast | Tickets: http://bit.ly/onegreatness19

Posted by ONE Championship on Sunday, January 27, 2019

เหมือนโชคชะตาพาเธอกลับเข้าสู่วงการต่อสู้อีกครั้ง เมื่อค่ายดังอย่างแฟร์เท็กซ์ กำลังมองหานักมวยหญิงมาปลุกปั้นเพื่อเข้าสู่วงการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) ซึ่งกำลังเป็นนิยมอย่างสูงในต่างประเทศ “น้าแรม” เทรนเนอร์ของค่ายแฟร์เท็กซ์ซึ่งเคยรู้จักเธอจึงชักชวนเธอไปอยู่ที่นั่น

แสตมป์ ซึ่งมีต้นทุนด้านมวยไทย เมื่อได้โค้ชมืออาชีพเข้ามาดูแลด้านการฝึกซ้อม จึงทำให้เธอพัฒนาฝีมือและทักษะอย่างรวดเร็ว พร้อมกับได้ขึ้นเวทีเพื่อพิสูจน์ตัวเองในฐานะผู้เข้าร่วมการแข่งขันรายการ Rich Franklin’s ONE Warrior Series ซึ่งเป็นสังเวียนค้นหานักกีฬาดาวรุ่งที่มีความสามารถโดดเด่นเพื่อเข้าร่วมสังกัดของ วัน แชมเปียนชิพ

ครั้งนั้น แสตมป์ คว้าชัยชนะด้วยการก้านคอคู่ต่อสู้ด้วยเวลาเพียง 12 วินาทีของยกแรก ก่อนถูกดึงตัวให้เป็นนักกีฬาภายใต้สังกัดของ วัน แชมเปียนชิพ อย่างเต็มตัว โดยประเดิมไฟต์แรกในนัดท้าชิงแชมป์โลก ONE คิกบ็อกซิ่ง รุ่นอะตอมเวต กับ “ไค่ ถิง ฉวง” แชมป์คนปัจจุบันในตอนนั้น เมื่อเดือนตุลาคม 2561 และกระชากเข็มขัดแชมป์โลก ONE เส้นนี้มาครองได้เป็นเส้นแรก

สี่เดือนต่อมา แสตมป์ ได้รับโอกาสให้ชิงเข็มขัดแชมป์โลกอีกเส้น แต่คราวนี้เป็นกติกามวยไทยที่เธอถนัด โดยเธอต้องพบกับคู่ปรับหน้าใหม่ที่อายุมากกว่าเธอถึง 12 ปี “เจเน็ต ท็อดด์” ซึ่งหลังจากขับเคี่ยวกันมา 5 ยก เธอถึงกับยอมรับว่าคู่แข่งรายนี้เคี้ยวยากที่สุดเท่าที่เธอเคยเจอมาในชีวิต แต่ถึงอย่างนั้นเธอก็คว้าเข็มขัด ONE มวยไทย รุ่นอะตอมเวต มาครองได้เป็นคนแรกของรายการ

เข็มขัดสองเส้นไม่อาจหยุดรั้งจิตวิญญาณนักสู้ที่มีอยู่อย่างเต็มตัวของ แสตมป์ ตลอดช่วงปีที่ผ่านมาเธอเดินหน้ากับการล่าเข็มขัดเส้นที่ 3 ในกติกาการต่อสู้แบบผสมผสาน โดยเก็บชัยชนะได้ต่อเนื่องแล้ว 4 ไฟต์ ทั้งยังครองสถิติไร้พ่ายบนเวทีแห่งนี้ ซึ่งยังไม่มีใครโค่นเธอได้สำเร็จ

“จากที่คิดว่าจะไม่ยึดอาชีพมวยเป็นหลัก ตอนนี้มันกลายเป็นรายได้หลักของครอบครัว แสตมป์รู้สึกภูมิใจที่ไม่ต้องขอเงินพ่อแม่ และยังสามารถแบ่งเบาภาระของท่าน ช่วยส่งเสียน้องเรียนได้ เราจึงต้องจริงจังเพราะมันคืออาชีพของเรา”

“แสตมป์ดีใจที่เราสามารถเป็นต้นแบบให้ผู้หญิงทั้งประเทศว่าเราก็สามารถทำอะไรที่ผู้ชายทำได้ และอยากให้ผู้หญิงมีโอกาสก้าวขึ้นแสดงฝีมือและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย เพราะไม่ว่าเราจะไปแข่งขันที่ไหน เราก็คือคนไทยคนหนึ่ง ที่พร้อมจะประกาศให้ทั่วโลกรู้ว่า คนไทยก็ทำได้”

อ่านเพิ่มเติม:

ดูเพิ่มเติมในหมวด บทความ

Kiamrian Abbasov Christian Lee ONE on Prime Video 4 1920X1280 34
1820285
11 Anatoly Malykhin VS Oumar Kane one 169 (33)
06 Rungrawee vs George Jarvis OL85 (2)
06 Parham Gheirati vs George Mouzakitis (32) OL84
OFN13 Marcus Almeida VS Oumar Kane (1)
OL75_03 Shir Cohen VS Francisca Vera (25)
youssef assouik 16 9
Thai champs cover update
OL58 Seksan vs Yutaro Asahi (62)
Jonathan Haggerty vs Felipe Lobo OFN19 (52)
Shadow Mom