10 นักกีฬาการต่อสู้แบบผสมผสาน รุ่นอะตอมเวตหญิง ที่แฟนตัวยงต้องรู้จัก

Rika Ishige ADUX9300

นับตั้งแต่ วัน แชมเปียนชิพ จัดการแข่งขันการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) นัดชิงแชมป์โลก รุ่นอะตอมเวตหญิง ซึ่งถือเป็นรุ่นพิมพ์นิยม ในเดือนพฤษภาคม 2559 เป็นครั้งแรก นักกีฬาหญิงรุ่นนี้ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และแต่ละคนก็ล้วนมีชื่อเสียงอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศ ไปจนถึงตัวท็อปของทวีปเอเชีย

สำหรับประเทศไทยเรามี “ริกะ อิชิเกะ” สาวลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น เป็นสาวไทยคนแรกที่บุกเบิกสังเวียนแห่งนี้ ตามมาด้วย “แสตมป์ แฟร์เท็กซ์” นักชกสาวจากจังหวัดระยอง ที่เคยครองแชมป์โลก ONE ทั้งประเภทกีฬามวยไทยและคิกบ็อกซิ่ง ก็ลงมาแข่งในกติกานี้เช่นกัน

วันนี้เราจะทุกท่านไปทำความรู้จักนักกีฬาการต่อสู้แบบผสมผสานหญิงทั้งไทยและเทศรวม 10 คนของ วัน แชมเปียนชิพ ที่แฟนตัวยงควรต้องรู้จัก จะมีใครบ้างตามไปดูกันเลยค่ะ

 

แองเจลา ลี

 

“Unstoppable” แองเจลา ลี นักสู้หญิงตัวแม่ของรุ่น ที่สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นแชมป์โลก ONE รุ่นอะตอมเวตหญิง หลังแย่งชิงเข็มขัดกับนักสู้สาวจอมเก๋าจากญี่ปุ่น “เม ยามากูชิ” ในเดือนพฤษภาคม 2559 ทำให้เธอกลายเป็นแชมป์โลกหญิงที่อายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และยังสามารถครองเข็มขัดเส้นนี้มาได้จนถึงปัจจุบัน

แชมป์โลกสาวชาวสิงคโปร์ เกิดในครอบครัวนักศิลปะการต่อสู้ เธอสำเร็จวิชาบราซิลเลียนยิวยิตสู สายดำ และป้องกันตำแหน่งได้ถึง 4 ครั้ง สั่งสมสถิติได้ทั้งสิ้น ชนะ 10 แพ้ 2 และมีสถิติน็อกเอาต์ถึง 80%

แองเจลา ข้ามไปชิงแชมป์โลกในรุ่นสตรอว์เวตที่ใหญ่กว่า แต่พ่ายแพ้กลับลงมา ถ้าในรุ่นอะตอมเวตแล้วล่ะก็ เธอไม่เคยแพ้ใครหน้าไหน สมฉายา “Unstoppable” ของเธอ

 

เดนิส แซมโบอันกา

enice Zamboanga defeats Mei Yamaguchi ONE KING OF THE JUNGLE in Singapore

 

ก่อนหน้านี้อาจไม่ค่อยมีใครรู้จักชื่อของ “The Menace” เดนิส แซมโบอันกา แต่หลังจากเธอเปิดตัวอย่างสวยงามด้วยการปราบ “จีฮิน รัดซวน” เมื่อเดือนธันวาคม 2562

และตามมาด้วยการเล่นงานนักสู้ตัวท็อปของรุ่นอย่าง เม ยามากูชิ เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประกาศศักดาในฐานะผู้ท้าชิงคนต่อไปที่จะได้เปิดศึกชิงเข็มขัดแชมป์โลกกับ แองเจลา ลี ก็ทำให้ทั่วโลกหันมาจับตาดูเธอมากขึ้น 

ปัจจุบัน เดนิส ครองสถิติไร้พ่ายไว้อย่างเหนียวแน่นถึง 6 ไฟต์ติดต่อกัน

 

เม ยามากูชิ

Mei Yamaguchi walks out in her karate gi

 

V.V.” เม ยามากูชิ นักกีฬาหญิงวัยเก๋า ที่ได้รับการเคารพและเป็นที่รักมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของ วัน แชมเปียนชิพ

เม ลงแข่งขันในกติกาการต่อสู้แบบผสมผสานระดับอาชีพตั้งแต่เดือนมีนาคม 2550 และมีสถิติทั้งสิ้น ชนะ 21 แพ้ 12 เสมอ 1 รางวัลสูงสุดที่เธอเคยได้รับก่อนที่จะมาอยู่ในสังกัด วัน แชมเปียนชิพ คือ แชมป์โลก DEEP Jewels รุ่นเฟเธอร์เวต

เธอเคยเปิดศึกชิงแชมป์โลก ONE กับ แองเจลา ลี มาแล้วสองครั้ง และเกือบจะได้นั่งบัลลังก์แชมป์โลก ONE รุ่นอะตอมเวต แต่หลังจากไฟต์ล่าสุดที่เธอพ่ายให้กับ เดนิส แซมโบอันกา ก็ทำให้โอกาสที่เธอจะได้เปิดศึกไตรภาคกับ แองเจลา ยากขึ้นกว่าเดิมอีกหนึ่งสเต็ป

 

เมง โบ

Chinese mixed martial artist Meng Bo raises her arm

 

“เมง โบ” ได้พิสูจน์ตัวเองอย่างรวดเร็ว ว่าเธอคือหนึ่งในนักศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานหญิงโดดเด่นที่สุดเท่าที่ประเทศจีนเคยมีมา

เธอเติบโตจากครอบครัวเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เธอเรียนวิชาเทควันโด สานต่า และยิวยิตสู ในช่วงวัยรุ่น ก่อนจะตัดสินใจเทิร์นโปรในเดือนพฤศจิกายน 2556 และล่าเข็มขัดแชมป์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานของจีนสองสมัยมาครอง

เมื่อมาเปิดตัวใน “บ้านแห่งศิลปะการต่อสู้” วัน แชมเปียนชิพ เมื่อเดือนพฤศจิกายนในขวบวัย 23 ปี เมง เคยทำให้ผู้ชมต้องตะลึงเมื่อสามารถน็อกเอาต์อดีตผู้ท้าชิงแชมป์โลก ONE อย่าง “La Gladiadora” ลอรา บาลิน ตั้งแต่ยกแรก และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเดินทางอันยาวไกลของเธอ

 

อิตซูกิ ฮิราตะ

Japanese athlete Itsuki Hirata throws a dragonball

 

“Strong Heart Fighter” อิตซูกิ ฮิราตะ สาวแกร่งจากแดนอาทิตย์อุทัย ที่สร้างความฮือฮาในโซเชียลมีเดียของญี่ปุ่น หลังแต่งกายคอสเพลย์เลียนแบบการ์ตูน “แอนดรอยด์หมายเลข 18″ จากเรื่อง “ดราก้อนบอล”

ความน่ารักของสาวนักสู้วัยแตะเลข 2 มีไม่แพ้ความน่าตื่นเต้นบนสังเวียนที่เธอฉายแววตั้งแต่นัดแรกใน วัน แชมเปียนชิพ ด้วยการสยบนักสู้สาวขวัญใจชาวไทย ริกะ อิชิเกะ ด้วยการซับมิชชัน ก่อนจะเผด็จศึก “Neutron Bomb” ไนเรน ครอว์ลีย์ ด้วยทีเคโอ. ในยกที่ 3 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทำให้เธอครองสถิติไร้พ่าย 7-0 และปิดเกมแบบไม่ครบยกได้ทุกครั้ง

 

พริสซิลลา เฮอร์ตาติ ลุมบัน กาโอล์

Indonesia's Priscilla Hertati Lumban Gaol walks to the ring with the flag

 

“Thathie” พริสซิลลา เฮอร์ตาติ ลุมบัน กาโอล์ สาวนักสู้จากกรุงจาการ์ตา เริ่มต้นเส้นทางนี้อย่างไม่ราบรื่น แม้แต่พ่อแม่ก็ไม่สนับสนุน แถมยังขัดขวางให้เธอกลับไปทำงานแบบปกติทั่วไป

แต่หลังจากที่เธอได้พิสูจน์ความตั้งใจและพรสวรรค์ของตัวเอง จากการเป็นแชมป์วูซูสองสมัยระดับประเทศ พ่วงด้วยแชมป์มวยสากลระดับท้องถิ่น และแชมป์โลกวูซูเหรียญทองแดง ความสำเร็จทำให้ทุกคนยอมรับการตัดสินใจของเธอ โดยไม่มีข้อสงสัยอีกต่อไป

นักสู้หญิงวัยแตะเลข 3 รายนี้ มีสถิติทั้งสิ้น ชนะ 7 แพ้ 5 และขึ้นชื่อว่าเป็นฮีโร่ขวัญใจชาวอินโดนีเซีย ในฐานะนักกีฬาการต่อสู้แบบผสมผสานที่ได้รับความนิยมสูงสุดของประเทศ

 

แสตมป์ แฟร์เท็กซ์

Stamp Fairtex knocks out Puja Tomar at ONE A NEW TOMORROW

 

อาจกล่าวได้ว่า “แสตมป์ แฟร์เท็กซ์” เป็นนักกีฬาหญิงเพียงคนเดียวที่ลงแข่งขันศิลปะการต่อสู้ถึง 3 กติกา ทั้งมวยไทย, คิกบ็อกซิ่ง และศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน เคยขึ้นครองถึงสองบัลลังก์แชมป์โลก ONE ทั้งมวยไทยและคิกบ็อกซิ่ง ในรุ่นนี้

นักสู้สาวจากระยองเติบโตมาจากพื้นฐานมวยไทย ก่อนที่จะหันมาสนใจในกีฬาการต่อสู้แบบผสมผสานได้ราว 2 ปี และลงแข่งขันอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาเพิ่งเสียสถิติไร้พ่ายไปเพียงแค่ไฟต์เดียว

 

จีฮิน รัดชวน

Malaysian atomweight mixed martial artist Jihin Radzuan with the flag

 

เมื่อนักสู้รุ่นบุกเบิกชาวมาเลเซียอย่าง “Athena” แอน ออสมัน เกษียณตัวเองจากการแข่งขันในช่วงปลายปี 2560 “Shadow Cat” จีฮิน รัดซวน ก็ก้าวขึ้นมาแทนที่ ในฐานะนักกีฬาการต่อสู้แบบผสมผสานหญิงตัวแทนแห่งชาติมาเลเซียคนใหม่ และโบกสะบัดธงยาลูร์ เกมิลัง (ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) อย่างภาคภูมิใจในทันที

จีฮิน เป็นแชมป์โลกวูซู และเป็นนักบราซิลเลียนยิวยิตสูสายม่วง เธอผสมผสานวิชาศิลปะการต่อสู้ทั้งสองอย่างสมบูรณ์แบบ และมีสถิติ ชนะ 6 แพ้ 2 

หนึ่งในชัยชนะสุดประทับใจคือการเล่นงานอดีตผู้ท้าชิงแชมป์โลก ONE รุ่นอะตอมเวตอย่าง “Lady Gogo” เจนนี ฮวง ซึ่งเป็นหนึ่งในนักสู้ตัวท็อปของ วัน แชมเปียนชิพ อย่างราบคาบ

 

ริกะ อิชิเกะ

Thai mixed martial arts pioneer Rika Ishige

 

“Tiny Doll” ริกะ อิชิเกะ นักสู้ลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ที่ขึ้นชื่อในฐานะนักกีฬาผู้สร้างสีสันให้กับ วัน แชมเปียนชิพ มากที่สุดคนหนึ่ง

เธอมีพื้นฐานคาราเต้, ไอคิโด, มวยไทย และบราซิลเลียนยิวยิตสูสายน้ำเงิน โดยถือเป็นนักกีฬาหญิงไทยรุ่นบุกเบิกในกีฬาการต่อสู้แบบผสมผสาน และยังเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่แข่งขันในระดับโลกจนปัจจุบัน

ด้วยความที่เธอเป็นนักสู้หญิงที่มีความน่ารัก คิกขุ สไตล์ลูกครึ่ง จึงทำให้เธอกลายเป็นนักสู้หญิงที่มีฐานแฟนคลับมากที่สุดคนหนึ่ง และมีงานนอกสังเวียนติดต่อให้เธอร่วมงานมากมาย ทั้ง ถ่ายแบบ ถ่ายโฆษณา และแสดงภาพยนตร์ แต่เธอมีคติประจำตัวคือรับงานที่เธอสบายใจ สำคัญที่สุด

 

ริตู โฟกาต

Ritu Phogat makes her mixed martial arts debut against Nam Hee Kim at ONE AGE OF DRAGONS

 

“The Indian Tigress” ริตู โฟกาต อาจเป็นหน้าใหม่ในวงการศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน แต่ในวงการมวยปล้ำ เธอมาจากครอบครัวนักมวยปล้ำชื่อดังระดับโลก เรื่องราวของครอบครัว ริตู เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “Dangal” อันโด่งดังในอินเดีย

ริตู ย้ายถิ่นฐานมาอยู่กับทีม Evolve MMA ที่สิงคโปร์ และเปิดตัวใน วัน แชมเปียนชิพ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2562 โดยกำชัยชนะแบบทีเคโอ. ตั้งแต่ยกแรก ก่อนจะเก็บชัยชนะได้ต่อเนื่องถึง 4 ไฟต์ติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน และเธอหวังว่าจะก้าวขึ้นเป็นแชมป์โลก ONE คนแรกของอินเดียให้ได้

 

อ่านเพิ่มเติม:

ดูเพิ่มเติมในหมวด บทความ

11 Anatoly Malykhin VS Oumar Kane one 169 (33)
06 Rungrawee vs George Jarvis OL85 (2)
06 Parham Gheirati vs George Mouzakitis (32) OL84
OFN13 Marcus Almeida VS Oumar Kane (1)
OL75_03 Shir Cohen VS Francisca Vera (25)
youssef assouik 16 9
Thai champs cover update
OL58 Seksan vs Yutaro Asahi (62)
Jonathan Haggerty vs Felipe Lobo OFN19 (52)
Shadow Mom
Suablack Tor Pran49 vs Craig Coakley OL46 (17)
Saemapetch VS Felipe Lobo60