เรื่องจริงของอดีตนักมวยปล้ำโอลิมปิกไซส์มินิ “กุสตาโว บาลาร์ต”

facebook cover

หากเอ่ยถึง “กุสตาโว บาลาร์ต” เชื่อว่ามีหลายท่านอาจไม่คุ้นชื่อของเขาเลยสักนิด แต่หากใบ้ว่านักสู้รุ่นฟลายเวตของ วัน แชมเปียนชิพ ผู้มีความสูงเพียง 150 ซม. สู้กับใครเสียเปรียบเรื่องช่วงตัวทุกราย เชื่อว่าหลายท่านน่าจะเคยผ่านหูผ่านตาการแข่งขันของเขามาบ้าง

 

Gustavo Balart DA 6083.jpg

 

เห็นเขาตัวเล็กๆ แบบนี้ กุสตาโว มีดีกรีเป็นแชมป์แพนอเมริกัน มวยปล้ำเกรโก-โรมัน 3 สมัย และยังเป็นนักกีฬาทีมชาติคิวบา ผู้มีลีลาการต่อสู้ที่ดุเด็ดเผ็ดมัน น่าเกรงขาม ผิดกับรูปร่างไซส์มินิ ซึ่งหากจะให้นิยามว่า “หัวใจใหญ่กว่าตับ” ก็ไม่น่าจะผิดอะไร

 

#ลูกชายนักมวยปล้ำ

กุสตาโว และ พ่อ

 

กุสตาโว บาลาร์ต เกิดในประเทศคิวบา โดยมีพ่อซึ่งเป็นนักกีฬามวยปล้ำทีมชาติ ผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในชีวิตของเขา พ่อเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นครูคนแรกผู้ถ่ายทอดวิชามวยปล้ำให้กับลูกชายอย่างหมดเปลือก

วัยเด็กของ กุสตาโว มีความซุกซน สดใส และแอ็กทีฟมาก เขาชอบออกไปเล่นนอกบ้าน เหมือนกับเด็กผู้ชายคิวบาทั่วไป

ผมเห็นพ่อเล่นมวยปล้ำมาตลอดในฐานะนักกีฬาทีมชาติคิวบา ผมมักติดสอยห้อยตามพ่อไปดูการแข่งขัน ซึ่งนั่นคือแรงบันดาลใจให้ผมเดินตามรอยของพ่อ ผมอยากทำให้พ่อภูมิใจที่ได้เห็นผมเป็นนักมวยปล้ำ และอาจจะทำได้ดีกว่าเขา”

ผมเริ่มฝึกมวยปล้ำตอนอายุ 7 ขวบ ในคลาสมวยปล้ำเกรโกโรมันสำหรับเยาวชน และพ่อก็ได้เห็นแววในตัวผม เขาจึงตัดสินใจฝึกสอนผมด้วยตัวเอง

 

 

ด้วยการสนับสนุนจากพ่อ กุสตาโว สามารถบรรลุเป้าหมายด้วยการคว้าแชมป์แพนอเมริกัน มวยปล้ำเกรโก-โรมัน 3 สมัย และได้เป็นตัวแทนของประเทศในฐานะนักกีฬาทีมชาติคิวบา ที่ลงแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ปี 2012 ซึ่งเขายอมรับว่า เขาอาจจะเดินทางมาไม่ถึงจุดนี้หากไม่มีพ่อเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง

“มันต้องใช้ความเสียสละ มุมานะ พยายามอย่างมาก ผมผ่านมันมาได้เพราะมีพ่อคอยผลักดันในวันที่ผมท้อแท้ พ่อมาเติมเต็มความเข้มแข็งให้ผม และอยู่เคียงข้างผมมาตลอดเส้นทางอาชีพ”

 

#ยอมห่างลูกเมียเพื่อสร้างอนาคต

 

แม้จะประสบความสำเร็จในฐานะนักมวยปล้ำมือสมัครเล่น แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงดูลูกและภรรยาของเขาได้

กุสตาโว จึงตัดสินใจเบนเข็มไปสู่กีฬาการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) โดยใช้พื้นฐานการปล้ำจับล็อกที่แข็งแกร่ง ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่สมัยเป็นนักมวยปล้ำให้เป็นประโยชน์

เขารู้อยู่เต็มอกว่าการเลือกเส้นทางสายนี้หมายถึงการต้องทิ้งลูกและภรรยาไว้ที่คิวบา เพื่อไปหาความก้าวหน้าในสหรัฐอเมริกา แต่มันก็จำเป็น

 

 

ผมเดินทางผ่าน โคลัมเบีย ปานามา เม็กซิโก จนกระทั่งถึงชายแดนสหรัฐอเมริกา มันทำใจยากมากที่ต้องทิ้งภรรยาและลูกสาวไว้ข้างหลัง ซึ่งตอนนั้นภรรยาของผมกำลังท้องอยู่ด้วย แต่ผมไม่มีทางเลือกถ้าต้องการที่จะเดินทางสายนี้”

“ผมนึกถึงครอบครัว และอยากมอบอนาคตที่ดีให้พวกเขา ซึ่งที่สหรัฐอเมริกามีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพมากกว่า และมันสำคัญมากกับการสร้างอนาคตและความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขา”

กุสตาโว ได้พักอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา และฝึกฝนวิชาการต่อสู้แบบผสมผสานภายใต้ทีม American Top Team ในไมอามี เขาได้ร่วมฝึกกับนักกีฬาคิวบาหลายคน รวมถึงนักกีฬาโอลิมปิกอย่าง “โยเอล โรเมโร”

 

#ความสำเร็จมีไว้พุ่งชน

 

กุสตาโว มีน้ำหนักอยู่ในรุ่นฟลายเวตซึ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักในอเมริกา เพราะหาตัวนักกีฬายาก จึงทำให้เขาไม่ค่อยได้ลงสนามนักในช่วงแรก

แต่หลังจากที่รุ่นน้ำหนักของเขาถูกบรรจุลงในการแข่งขัน เขาก็เริ่มต้นเป็นนักกีฬาอาชีพทันที และสร้างสถิติอันน่าประทับใจด้วยการลงแข่งขัน 9 ครั้ง ชนะ 8 (น็อก 2) แพ้ 1

 

Gustavo Balart DC 8967.jpg

 

ความสำเร็จในช่วงระยะเวลา 4 ปี ส่งผลให้ กุสตาโว ได้ร่วมสังกัด วัน แชมเปียนชิพ โดยเปิดตัวในฐานะ 1 ใน 8 นักสู้ยอดฝีมือของทัวร์นาเมนต์ ONE เวิลด์ กรังด์ปรีซ์ รุ่นฟลายเวต แต่ฝันของเขาก็สลายเมื่อเขาแพ้คะแนนและตกรอบแรกของทัวร์นาเมนต์

ด้วยความสูงเพียง 150 ซม. ไม่ว่าสู้กับใครก็ค่อนข้างเสียเปรียบเรื่องช่วงตัวอยู่เสมอ แต่มันก็เป็นข้อดีอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ชมจดจำเขาได้ง่าย เมื่อบวกกับสไตล์การต่อสู้ที่บู๊ดุดัน เดินหน้าบุก สู้ไม่ถอย จึงทำให้ผู้ชมแทบทุกสนามชื่นชอบกับการแข่งขันที่ตื่นเต้นเร้าใจของเขา แถมยังส่งเสียงเชียร์เป็นกำลังใจให้เขาอย่างล้นหลาม

 

จัน โรธนะ vs กุสตาโว บาลาร์ต 16 ส.ค.62 ที่ อิมแพ็ค อารีน่า

 

แม้ กุสตาโว จะยังไม่เคยได้รับชัยชนะสักครั้งในการแข่งขัน 3 ไฟต์ใน วัน แชมเปียนชิพ แต่เขาก็ยังไม่สิ้นหวัง และมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าต่อไป เพื่อก้าวสู่จุดสูงสุดของอาชีพเหมือนอย่างที่เขาเคยทำมาแล้ว

เป้าหมายต่อไปของผมคือการได้เป็นแชมป์โลกรุ่นฟลายเวตในกีฬาการต่อสู้แบบผสมผสาน เพื่อพิสูจน์ว่าผมเป็นคนที่เก่งที่สุดของรุ่นนี้ และผมยังอยากจะแสดงให้เด็กๆ เห็นว่า ไม่ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ถ้ามีความเสียสละและมุ่งมั่น ทุกอย่างล้วนเป็นไปได้”

 

อ่านเพิ่มเติม:

ดูเพิ่มเติมในหมวด บทความ

NL 1852
Jonathan Haggerty Superlek Kiatmoo9 ONE 168 65
Superlek Kiatmoo9 vs Takeru Segawa ONE 165 (17)
ONE167 Kade Ruotolo VS Blake Cooper (20)
Jonathan Haggerty Superlek Kiatmoo9 ONE 168 80
Anatoly Malykhin Oumar Kane ONE 169 78
1860141 (1)
Lumpinee Bonus 1920x1080px
Lumpinee Contract 1920x1080px
Kiamrian Abbasov Christian Lee ONE on Prime Video 4 1920X1280 34
1820285
11 Anatoly Malykhin VS Oumar Kane one 169 (33)