ทำไมวิศวกรการบิน “เจเน็ต ท็อดด์” จึงหันสู่เส้นทางนักสู้ที่ต้องแลกมาด้วยการเจ็บตัว

58410802_672042516566219_1089797389301923563_n

ความมั่นคงในอาชีพอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย และอะไรคือคำตอบสุดท้ายสำหรับนักวิศวกรการบินหญิง “เจเน็ต ท็อดด์” ซึ่งหันสู่เส้นทางนักสู้ที่แลกมาด้วยการเจ็บตัว

แฟน ๆ วัน แชมเปียนชิพ คงคุ้นชื่อเสียงเรียงนามของ “เจเน็ต ท็อดด์” กันเป็นอย่างดี นักสู้หญิงเลือดญี่ปุ่น-อเมริกันซึ่งมีอาชีพการงานมั่นคงในด้านวิศวกรรมการบิน แต่ผันตัวมาเดินสายนักสู้ควบคู่ไปด้วย โดยเธอกระชากเข็มขัดจาก “แสตมป์ แฟร์เท็กซ์” และขึ้นนั่งบัลลังก์แชมป์โลก ONE คิกบ็อกซิ่ง บ็อกซิ่ง รุ่นอะตอมเวต แทนที่

วันนี้เราจะพาไปรู้จักเธอให้มากขึ้น และค้นหาคำตอบที่ว่า ทำไมวิศวกรการบินหัวก้าวหน้าอย่าง “เจเน็ต ท็อดด์” จึงเข้าสู่เส้นทางนักสู้ที่ต้องแลกมาด้วยการเจ็บตัว

 

แคลิฟอร์เนียเกิร์ล

 

เจเน็ต เกิดและเติบโตที่ เฮอร์โมซา บีช รัฐแคลิฟอร์เนีย พ่อของเธอเป็นจิตรกรฝาผนัง ส่วนแม่เป็นชาวญี่ปุ่นที่ย้ายตามสามีมาอยู่ที่อเมริกา โดยยึดอาชีพเป็นครูสอนโยคะและมีหน้าที่เลี้ยงดูลูก

สมัยเด็ก ๆ ฉันพูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงญี่ปุ่น (หัวเราะ) ตอนแม่อยู่บ้าน แม่จะสอนภาษาญี่ปุ่นให้ฉันกับน้องสาว และพาเราไปทุกที่ ทั้งเรียนเปียโน ยิมนาสติก หรือแม้แต่พาน้องสาวไปเตะฟุตบอล”

ในวัยเด็ก เจเน็ต ชอบกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ แต่เธอไม่เคยสนใจศิลปะการต่อสู้เลย เธอเรียนยิมนาสติกอย่างจริงจัง แต่ภายหลังเธอรู้สึกว่าการเล่นกีฬามากเกินไป ทำให้เธอแทบไม่ได้ใช้ช่วงเวลาวัยรุ่นเลย เธอจึงตัดสินใจเลิกเล่นยิมนาสติกและหันไปเป็นเชียร์ลีดเดอร์ ซึ่งมันก็ลงตัวดี

 

จากคาร์ดิโอคิกบ็อกซิ่งสู่มวยไทย

 

หลังจบมัธยมปลาย เจเน็ต ต้องทุ่มเทให้กับการเรียนในมหาวิทยาลัย เธอศึกษาในสาขาวิศวกรรมการบิน 5 ปี ที่มหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคแคลิฟอร์เนีย ใน ซานหลุยส์ โอบิสโป

ขณะเดียวกันเธอก็เป็นคนรักสวยรักงาม ชอบทำกิจกรรมเกี่ยวกับการฟิตหุ่นร่างกาย ทำให้เธอได้รู้จักคาร์ดิโอคิกบ็อกซิ่งซึ่งตอบโจทย์อย่างมาก

เมื่อเข้าสู่ปีสุดท้ายของการเรียน แฟนหนุ่มของเธอ “ดัสติน” (ซึ่งปัจจุบันทั้งคู่แต่งงานกัน) ได้แนะนำให้รู้จักกับมวยไทย และแล้ว เจเน็ต ก็ติดใจเข้าอย่างจัง

 

ค้นพบตัวเอง

 

เจเน็ต ตกหลุมรักมวยไทยอย่างถอนตัวไม่ขึ้น กระทั่งเมื่อครั้งเธอได้ไปเป็นพี่เลี้ยงให้เพื่อนในตอนแข่งขันมวยไทยสมัครเล่น มันกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเมล็ดพันธุ์ที่ถูกหว่านลงบนเส้นทางนักสู้อาชีพ

ฉันได้เห็นเธอสู้ และเห็นผลการฝึกฝนอย่างหนัก เธอชนะทีเคโอ.ด้วยการแทงเข่าที่สวยงามมาก ฉันก็รู้สึกทันทีว่านี่คือสิ่งที่ฉันอยากจะทำ”

จากนั้น เจเน็ต ก็ตัดสินใจลงแข่งขันในระดับสมัครเล่น โดยครั้งนั้นเธอเดินลงจากเวทีพร้อมชัยชนะ แต่สุดท้ายเธอก็ต้องหยุดพักการแข่งขันไปนาน เพราะเพิ่งเรียนจบและกำลังเริ่มต้นหางานทำ ทำให้เธอได้แค่ซ้อมมวยไปพลาง ๆ

 

 

สี่ปีต่อมา เจเน็ต มีโอกาสที่จะหันกลับมาเล่นกีฬาที่เธอรักอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เธอเดินหน้าสุดตัว และค้นพบปัญหาในตอนนั้นว่า มวยไทยไม่ใช่กีฬาที่คนในอเมริการู้จักกันมากนัก จึงแทบไม่มีรายการให้ลงแข่งเลย

ในอีกซีกโลกหนึ่ง พวกเขามีแข่งมวยกันทุกอาทิตย์ แต่ที่อเมริกาโปรโมเตอร์ต้องการคนที่ทำให้เขาขายตั๋วได้ ซึ่งถ้าชื่อของคุณขายไม่ได้ เขาก็จะไม่จัดคุณแข่ง”

“การแข่งขันมีแค่เดือนละครั้ง ถ้าคุณโชคดี คุณก็จะได้ลงแข่งทุกเดือน ถ้าไม่อย่างนั้นก็ 2-3 เดือนครั้ง โอกาสในการลงแข่งนับว่าน้อยเหลือเกิน”

 

ดิ้นรนหาโอกาส

Stamp Fairtex DUX 2937.jpg

 

เพื่อสร้างความก้าวหน้าในอาชีพ เจเน็ต ออกเดินทางไปแข่งขันนอกประเทศเพื่อสั่งสมประสบการณ์และความสำเร็จ เฉพาะปี 2560 เพียงปีเดียว เธอขึ้นชกถึง 14 ไฟต์ และปิดเกมด้วยการน็อกเอาต์หลายครั้ง ทั้งยังคว้าเหรียญทองแดงจากการแข่งขันชิงแชมป์โลกของ IFMA เหรียญทองแดงจากการแข่งขันเวิลด์เกมส์ และเหรียญทองจากการชิงแชมป์ IFMA Pan American

จากนั้น เจเน็ต ก็ได้เข้ามาอยู่ในสังกัด วัน แชมเปียนชิพ และเปิดตัวครั้งแรกในฐานะคู่ชิงแชมป์โลก ONE มวยไทย รุ่นอะตอมเวต กับ “แสตมป์ แฟร์เท็กซ์” เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่สุดในชีวิต แต่เธอก็พ่ายกลับลงจากสังเวียนพร้อมประสบการณ์มากมาย ก่อนเก็บชัยชนะหลังจากนั้นอีก 3 ไฟต์ และได้กลับไปล้างแค้นคู่ปรับเก่าอย่าง แสตมป์

 

นั่งบัลลังก์แชมป์โลก

backstage with miesha tate stamp fairtex janet todd one king of the jungle interviews.jpg

 

หนึ่งปีให้หลังจากการเปิดตัวใน วัน แชมเปียนชิพ เจเน็ต มีโอกาสได้ชิงเข็มขัดแชมป์โลก ONE อีกครั้ง แต่การเจอกับคู่ปรับเก่าคราวนี้ต่างจากกติกาเดิม คือชกกันในกติกาคิกบ็อกซิ่ง 5 ยก ซึ่งผลปรากฏว่า เจเน็ต สามารถกระชากเข็มขัด ONE คิกบ็อกซิ่ง รุ่นอะตอมเวต จาก แสตมป์ มาครองได้สำเร็จ

เบื้องหลังความสำเร็จนี้คือการเคี่ยวกรำจากโค้ชยอดฝีมืออย่าง “โบรอัน โป๊บจอย” บวกกับความมานะพยายามของ เจเน็ต ที่ทุ่มเทให้กับสิ่งที่เธอรัก

“นี่คือตำแหน่งระดับโลกครั้งแรกของฉัน แน่นอนว่าฉันตื่นเต้นมาก ฉันคิดว่าการหาสิ่งที่เราหลงใหลเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันทำให้คุณมั่นใจและรักตัวเอง”

 

ไบรอัน โป๊บจอย และ เจเน็ต

 

“มันคือความสุขจากการทำในสิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้  ซึ่งฉันอยากให้ทุกคนได้สัมผัสการออกจากกรอบ และทำมันให้บรรลุผล ฉันหวังว่าคนอื่น ๆ ทั้งหญิงและชายจะสนุกไปกับเส้นทางสู่การค้นพบตัวเอง เหมือนที่ฉันเป็น”

วิศวกรหญิงลูกครึ่งญี่ปุ่น-อเมริกันได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นแล้วว่า แม้เส้นทางสายนักสู้มันไม่ง่ายและต้องใช้เวลา แต่ตอนนี้เธอในวัย 35 ปีก็จะได้ชื่อว่าลิ้มรสการเป็นแชมป์โลกแล้ว และประวัติศาสตร์นี้จะไม่มีวันถูกลบเลือน

ในวันที่ 19 มีนาคมนี้ ศึก ONE: FISTS OF FURY III จะเป็นอีกครั้งที่ เจเน็ต จะได้กลับสู่รากเหง้าของมวยไทย เธอจะได้สานต่อความสำเร็จสู่การคว้าเข็มขัดแชมป์โลก ONE เส้นที่สอง โดยจะต้องพบกับคู่แข่งสาวสวยดุ “อัลมา ยูนิคู” ที่จะเป็นทั้งเสี้ยนหนามและบันไดเพื่อให้เธอก้าวไปสู่จุดที่สูงขึ้น

 

อ่านเพิ่มเติม:

ดูเพิ่มเติมในหมวด คิกบ็อกซิ่ง

Jackie Buntan Diandra Martin ONE Fight Night 10 16
Cover_OL86_Boutcard_4Box
8_OL81_SamAAkram (6)
1796311
Anissa vs Dangkongfah OFN2 13 e1702869761238
Sam A zhang Pei mien ONE169 Promo
BG_ONE03_0 (53)
Alexis Nicolas Regian Eersel ONE Fight Night 25 41
OFN25 08 Alexis Nicolas VS Regian Eersel (57)
12 Yod IQ VS Abdulla Dayakaev (50)
AlexisNicolas RegianEersel ONEFightNight25 Faceoffs 1920X1280
DC 33779