Flashback Friday: “เดชดำรงค์” ถอนความคิด MMA ล้มแล้วซ้ำ ไม่ใช่กีฬาลูกผู้ชาย

Dejdamrong _66a2939

สิบกว่าปีที่ผ่านมา กีฬาการต่อสู้แบบผสมผสาน หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ MMA ก็ดี มวยกรง ก็ดี คือภาพจำในแง่ลบของกีฬาซึ่งมีความรุนแรง ล้มแล้วลงไปซ้ำ ไม่เว้นแม้แต่ “เดชดำรงค์ ส.อำนวยศิริโชค” ตำนานแชมป์โลกมวยไทยเวทีลุมพินี 3 รุ่น และอดีตแชมป์โลก ONE รุ่นสตรอว์เวต ก็เป็นคนหนึ่งที่เคยคิดเช่นนั้น

“แต่ก่อนผมเคยมองว่ากีฬาการต่อสู้ประเภทนี้ไร้ซึ่งศักดิ์ศรี มันล้มแล้วซ้ำได้ ไม่เหมือนมวยไทยที่ล้มแล้วไม่ซ้ำ” 

 

Dejdamrong DUX 0484.jpg

 

เมื่อ ครูรงค์ ได้ถูกทาบทามให้ไปเป็นโค้ชสอนมวยไทยประจำยิมสอนศิลปะการต่อสู้ใหญ่ที่สิงคโปร์อย่าง Evolve ทำให้เขาได้พบกับนักกีฬาการต่อสู้แขนงอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมวยปล้ำ มวยสากล และบราซิลเลียนยิวยิตสู (BJJ) หลังจากได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้กัน ครูรงค์ จึงเริ่มเปิดใจ ทลายกำแพงอคติ และอยากท้าทายความสามารถของตนเอง

“วันหนึ่งผมก็ค้นพบว่า มวยไทย ยังไม่ใช่ที่สุดของการต่อสู้ ยิ่งถ้าเป็นการนอนสู้ยิ่งแล้วใหญ่ ผมไม่รู้ว่าต้องป้องกันตัวเองอย่างไร และต้องออกอาวุธแบบไหนเวลาที่เราอยู่บนพื้น ผมจึงเริ่มหันมาเรียน BJJ บ้าง”

ในชีวิตจริงนั้นหากเกิดสถานการณ์ที่เราจำเป็นต้องต่อสู้เพื่อป้องกันตัว ย่อมต้องใช้ทักษะทั้งการยืนสู้และนอนสู้เข้ามาผสมผสานกันตามแต่สถานการณ์ ดังนั้นการเรียนรู้วิชาการต่อสู้อย่างหลากหลายจึงจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาศาสตร์แขนงนี้อย่างจริงจัง

 

 

อย่างไรก็ตาม ครูรงค์ ได้ต่อยอดวิชาการต่อสู้โดยนำวิชามวยไทยผสมผสานกับบราซิลเลียนยิวยิตสูที่ร่ำเรียนมา ลงสนามแข่งขันในกีฬาการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) และประกาศศักดาของนักกีฬาไทยให้โลกรับรู้ว่า เราไม่แพ้ชาติใดในโลก ด้วยการครองบัลลังก์ แชมป์โลก ONE รุ่นสตรอว์เวต เป็นคนแรกของรายการ วัน แชมเปียนชิพ ซึ่งเป็นองค์กรศิลปะการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นคนแรกของประเทศไทย

แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อ ครูรงค์ ขึ้นป้องกันตำแหน่งครั้งแรกในประเทศบ้านเกิดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 ในศึก ONE: KINGDOM OF CHAMPIONS โดยเผชิญหน้ากับคู่แข่งขันชาวอาทิตย์อุทัย “NOBITA” โยชิตากะ นาอิโตะ ซึ่งขึ้นชื่อว่ามีความเก่งกาจและเชี่ยวชาญในเกมภาคพื้น 

จังหวะหนึ่งที่เขาปล่อยหมัดใส่ นาอิโตะ จนลงไปกองกับพื้น ซึ่งในกติกาการต่อสู้แบบผสมผสานนั้นสามารถตามเข้าไปเล่นงานคู่ต่อสู้บนพื้นได้ แต่กลายเป็นว่า ครูรงค์ เลือกที่จะไม่เข้าไปทำ แต่กวักมือเรียกให้อีกฝ่ายลุกขึ้นมายืนสู้กันใหม่ และสุดท้าย ครูรงค์ ก็พ่ายเสียแชมป์ในบ้านเกิด

 

https://www.youtube.com/watch?v=fXzBsnK4VZw

 

เหตุการณ์นี้กลายเป็นจุดเปลี่ยนให้แฟนๆ หลายคนมองว่า…หรือ ครูรงค์ ยังตะขิดตะขวงใจกับการล้มแล้วซ้ำคู่ต่อสู้กันแน่?

“จริงๆ ที่ผมไม่ตามไปซ้ำ เพราะจังหวะนั้นผมรู้ว่าหมัดที่ผมปล่อยออกไปมันไม่ได้รุนแรงถึงขนาดที่จะทำให้คู่ต่อสู้ล้มได้ มันเป็นแผนของเขาที่อยากจะดึงเราลงไปเล่นในเกมนอนสู้ที่เขาถนัด ซึ่งจะทำให้ผมเสียเปรียบกว่า”

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบัน ครูรงค์ จะเสียเข็มขัดแชมป์ไปแล้ว แต่เขายังหมั่นฝึกฝนวิชาการต่อสู้แขนงต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และได้ใช้ความรู้ที่สั่งสมมาถ่ายทอดเคล็ดวิชาให้กับลูกศิษย์ลูกหาและนักกีฬารุ่นใหม่ๆ ต่อไป ทั้งยังมีความหวังว่าสักวันเข็มขัดแชมป์โลก ONE จะกลับมาอยู่บนบ่าอีกครั้ง

 

34155940_10211275418272561_6705547983284338688_n.jpg

 

อ่านเพิ่มเติม:

ดูเพิ่มเติมในหมวด บทความ

NL 1852
Jonathan Haggerty Superlek Kiatmoo9 ONE 168 65
Superlek Kiatmoo9 vs Takeru Segawa ONE 165 (17)
ONE167 Kade Ruotolo VS Blake Cooper (20)
Jonathan Haggerty Superlek Kiatmoo9 ONE 168 80
Anatoly Malykhin Oumar Kane ONE 169 78
1860141 (1)
Lumpinee Bonus 1920x1080px
Lumpinee Contract 1920x1080px
Kiamrian Abbasov Christian Lee ONE on Prime Video 4 1920X1280 34
1820285
11 Anatoly Malykhin VS Oumar Kane one 169 (33)