ทำความรู้จัก 3 ศิลปะการต่อสู้ยอดฮิตของญี่ปุ่น
ศิลปะการต่อสู้ในญี่ปุ่นมีจุดเริ่มต้นมาจากนักรบซามูไรในยุคศักดินา ตั้งแต่นั้นมาพวกเขาก็มีวิวัฒนาการและการปรับตัวไปสู่ศิลปะการต่อสู้สมัยใหม่ โดยได้รับการยกย่องไปทั่วโลก ทั้งความซื่อสัตย์ มีวินัย เมตตา และอุทิศตนเพื่อหน้าที่
ก่อนศึก ONE: CENTURY ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จะระเบิดขึ้นในไม่ช้านี้ เราจะพาไปชม 3 ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่โด่งดังที่สุดของแดนอาทิตย์อุทัย และยังคงเป็นที่ฝึกฝนกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
คาราเต้
คาราเต้ ถือว่าเป็นศิลปะการต่อสู้ที่โดดเด่นที่สุดของญี่ปุ่น
ย้อนกลับไปเมื่อสมัยที่เกาะโอกินาวา ซึมซับศิลปะการต่อสู้กังฟู จากประเทศจีนเป็นครั้งแรกในช่วงเริ่มต้นของการค้าขาย และเมื่อศิลปะการต่อสู้สองอย่างนี้ถูกดัดแปลงและพัฒนาเข้าด้วยกัน สไตล์ของคาราเต้จากโอกินาวาก็ชัดเจนขึ้นในไม่ช้า
คำว่า คาราเต้ หมายถึง “มือเปล่า” ในภาษาญี่ปุ่น โดยเทคนิคที่ใช้ในเกมรุกและเกมรับของคาราเต้คือ การต่อย เตะ และบล็อก การเคลื่อนไหวของคาราเต้นั้นมีความรวดเร็วและโจมตีโดยตรง โดยใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของคู่ต่อสู้
นักคาราเต้จะฝึกร่างกายทุกส่วนเพื่อใช้เป็นอาวุธ และเพื่อจู่โจมเป้าหมายเฉพาะจุดอย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกฝนนี้จะฝึกสมาธิในการโจมตีไปยังจุดๆ เดียว ซึ่งเราได้เห็นจากนักสู้ของ วัน แชมเปียนชิพ อย่าง “V.V.”เม ยามากูชิ, ฮิโรอากิ ซูซูกิ และ ฮิโรกิ อากิโมโตะ
กีฬาการต่อสู้นี้เติบโตขึ้นอย่างมากตั้งแต่สมัยเริ่มก่อตั้ง และมีผู้คนทั่วโลกประมาณ 60 ล้านคนที่ฝึกวิชาคาราเต้ในทุกวันนี้ โดยสหพันธ์คาราเต้โลกได้ช่วยให้กีฬานี้ถูกบรรจุในการแข่งขันโอลิมปิก โดยจะถูกรวมอยู่ในโอลิมปิกส์ 2020 ที่กรุงโตเกียว เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
นอกจากนี้ คาราเต้ ยังเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาพยนตร์การต่อสู้ของญี่ปุ่น อันที่จริงแล้ว หนังแอคชันของ เฉิน หลง ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ ยามากูชิ หันมาฝึกคาราเต้อีกด้วย
ยูโด
ยูโด เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่พัฒนามาจาก ซามูไร ยิวยิตสู
หลังจากสิ้นสุดยุคกลางและการลดลงของจำนวนซามูไรในเวลาต่อมา ทำให้ความสำคัญของยิวยิตสูลดลงไปด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นไม่ได้เลือนหายจากไปตามอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกแต่อย่างใด เมื่อ “จิโกโร คาโน” ได้ฟื้นฟูและทำให้ยูโดกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในปี 1882 ซึ่งเขาถูกขนานนามว่าเป็นผู้ก่อตั้งกีฬายูโด
คำว่า ยูโด หมายถึง “อ่อนโยน” ในภาษาญี่ปุ่น โดยนักยูโดจะใช้ความแข็งแกร่งของคู่ต่อสู้เป็นอาวุธโจมตีพวกเขาเอง แทนที่จะใช้พลังของตนเอง เป็นการสยบความแข็งแกร่งด้วยความอ่อนโยน
เป้าหมายของกีฬายูโดคือ การโยนหรือรวบฝ่ายตรงข้ามลงไปที่พื้น และทำให้คู่แข่งเคลื่อนที่ไม่ได้ โดยจะต้องมีความรวดเร็วและแม่นยำในการจู่โจมจุดที่อ่อนที่สุดของคู่ต่อสู้
ปัจจุบัน ยูโดได้รับการฝึกฝนอย่างกว้างขวางทั่วโลก และมีการลงทะเบียนกับสหพันธ์ยูโดสากลมากว่า 190 ประเทศ และคงต้องขอบคุณ คาโน อีกครั้ง เพราะยูโดถูกบรรจุให้เป็นหนึ่งในกีฬาของการแข่งขันโอลิมปิกส์ เมื่อปี 1964 ที่กรุงโตเกียว
เหล่าฮีโร่วัน แชมเปียนชิพ อย่าง อายากะ มิอูระ, “Tobikan Judan” ชินยะ อาโอกิ และ “Sexy Yama” โยชิฮิโระ อากิยามะ ภูมิใจที่ได้นำเสนอความแข็งแกร่งของวิชายูโดให้ทั่วโลกได้ประจักษ์ และเผยแพร่ไปสู่คนรุ่นใหม่
ไอกิโด
ไอกิโด เป็นอีกหนึ่งวิชาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และถือเป็นหนึ่งในศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวที่ดีที่สุดของญี่ปุ่น
ทั้งนี้ “โมริเฮอิ อุเอชิบะ” เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของไอกิโด เมื่อเขาพัฒนาการต่อสู้ที่สงบ มาเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ใช้ได้จริง
เขาต้องการให้ผู้ที่ได้รับการฝึกฝน สามารถป้องกันตัวจากคู่ต่อสู้ได้โดยไม่รับบาดเจ็บ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหลักของไอกิโด จึงเป็นการเหวี่ยงและการล็อกข้อมือหรือข้อต่อแขนของอีกฝ่าย
มีการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ ไอกิโด มากมายในปัจจุบัน โดยนักสู้สาวสวยอย่าง “ริกะ อิชิเกะ” ได้ฝึกฝนศาสตร์นี้เพื่อป้องกันตัวจากการถูกกลั่นแกล้งในวัยเยาว์
การเน้นไปที่การป้องกันตัวเอง และความกลมกลืนของการเคลื่อนไหวเพื่อควบคุมคู่ต่อสู้ คือสาเหตุที่ชาวญี่ปุ่นยังคงชื่นชอบและอนุรักษ์ศิลปะการต่อสู้นี้ไว้
แฟนๆ จะได้เห็นทักษะวิชาไอกิโดของ ริกะ อีกครั้งในศึก ONE: CENTURY PART I ส่วน ยามากูชิ และ อาโอกิ จะขึ้นสังเวียนโชว์ทักษะของตัวเองในศึก ONE: CENTURY PART II
โตเกียว | 13 ตุลาคม | ONE: CENTURY | ศึกนัดที่ 100 ของ วัน แชมเปียนชิพ | ทีวี: ตรวจสอบวัน-เวลาออกอากาศจากสถานีโทรทัศน์ในประเทศ | บัตรเข้าชม: http://bit.ly/onecentury19
ONE: CENTURY คือศึกชิงแชมป์โลกศิลปะการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งมีแชมป์โลก 28 คนจากหลากหลายศิลปะการต่อสู้ขึ้นเวที ไม่มีองค์กรใดที่เคยจัดอีเวนต์ชิงแชมป์โลกแบบเต็มสเกลถึง 2 ศึกในวันเดียวกันมาก่อนในประวัติศาสตร์
วัน แชมเปียนชิพ เตรียมสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ด้วยการชิงแชมป์โลกมากมาย รอบชิงชนะเลิศทัวร์นาเมนต์ เวิลด์ กรังด์ปรีซ์ 3 คู่ และแชมป์โลกปะทะแชมป์โลกอีกมากมาย ในสังเวียน เรียวโงกุ โกกุงิกัง กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 13 ตุลาคมนี้