ซีอีโอ ONE แสดงจุดยืนต่อต้านการเหยียดผิว หลังทั่วโลกตื่นตัวเหตุการณ์ “จอร์จ ฟลอยด์”
จากเหตุการณ์ตำรวจจับกุมชายผิวสีชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันจนถึงแก่ความตาย ที่เมืองมินนิแอโพลิส รัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา จนนำไปสู่การประท้วงในเมืองใหญ่ของอเมริกาและแพร่กระจายไปทั่วโลก เพื่อร่วมกันรณรงค์ต่อต้านการเหยียดผิว พร้อมด้วยแฮชแท็ก #BlackLivesMatter และ #BlackoutTuesday
“นายชาตรี ศิษย์ยอดธง” ประธานและซีอีโอของ วัน แชมเปียนชิพ และนักกีฬาของ ONE รวมถึงเหล่าคนดังทั่วโลก ต่างก็พร้อมใจกันออกมาแสดงเจตนารมณ์นี้อย่างชัดเจน ด้วยการเขียนข้อความ และการแสดงภาพสีดำเป็นสัญลักษณ์
I do not actively follow politics, and I do not consider myself a political person. However, I believe strongly that all…
Posted by Chatri Sityodtong on Wednesday, June 3, 2020
จากโพสต์ของ นายชาตรี ในเฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อวันพุธที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา แปลเป็นไทยได้ว่า
“ผมไม่ได้ติดตามเรื่องการเมืองอย่างจริงจัง และไม่คิดว่าตัวเองเป็นคอการเมืองเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ามนุษย์ทุกคนควรได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกัน ผมยังเชื่อในโอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกคน มันไม่ถูกต้องที่จะเลือกปฏิบัติต่อกันเพียงเพราะเชื้อชาติ, ศาสนา, เพศสภาพ, รสนิยมทางเพศ, สัญชาติ, การศึกษา, สถานภาพทางสังคม ฯลฯ ผมไม่ได้สนใจกับเรื่องพวกนี้ ผมมีเพื่อนจากทุกสาขาอาชีพ, หลากหลายสัญชาติและเชื้อชาติ ผมมีทั้งเพื่อนที่เป็นมหาเศรษฐีและเพื่อนดีๆ ที่มาจากสลัม ทุกคนเท่าเทียมกันในสายตาของผม พวกเราทุกคนล้วนเป็นมนุษยชาติเหมือนกัน เราทุกคนอาจมาจากภูมิหลัง, วัฒนธรรม, ศาสนา, เชื้อชาติ และความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่เราทุกคนต่างมีความฝัน, เสียงหัวเราะ, ความรักและร้องไห้ เช่นเดียวกับที่ เกงกิ ซูโด กล่าวไว้เมื่อนานมาแล้วว่า พวกเราล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน
ชีวิตคนดำมีความหมาย (Black lives matter) เป็นแบบนั้นจริงๆ ผมรู้สึกขอบคุณเพื่อนชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันที่สอนผมเกี่ยวประวัติศาสตร์ของพวกเขาและทำให้ผมตาสว่าง ผมไม่ได้แสร้งทำเป็นรู้ดีว่าการเป็นคนผิวดำในสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างไร แต่ผมรู้ความหมายของการเป็นมนุษย์ สิ่งที่เกิดขึ้น (และยังคงเกิดขึ้นในทุกวันนี้) สำหรับชาวแอฟริกัน-อเมริกันแล้วไม่มีอะไรมากกว่าความอยุติธรรม มันเป็นภาพสะท้อนที่แย่ที่สุดของมนุษยชาติ แต่เราก็ยังยอมให้ชาติพันธุ์ของมนุษย์กลุ่มใหญ่ต้องทนทุกข์ทรมาน 240 ปีที่ชาวแอฟริกัน-อเมริกันต้องตกเป็นทาส อีก 100 ปีต่อมาชาวแอฟริกัน-อเมริกันถูกกีดกัน ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาพวกเขาได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันแค่ลมปาก เพราะความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือการเหยียดเชื้อชาติยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน และผลที่ตามมาของความอยุติธรรมนี้จะคงอยู่ไปอีกหลายร้อยปี ชาวแอฟริกัน-อเมริกันได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม, ถูกทารุณกรรม และถูกตั้งแง่โดยเจ้าหน้าที่และสังคม เห็นได้ชัดว่าพวกเขาไม่มีสิทธิเท่าเทียมคนอื่น บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องยืนหยัดต่อสู้กับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น เวลาที่จะต้องยืนหยัดเพื่อต่อต้านความทุกข์ทรมาน เวลาที่พวกเราจะร่วมใจกันยืนหยัดต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ ผมขอยืนอยู่เคียงข้างชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ผมจะอยู่ข้างคนผิวดำในทุกที่ ผมจะอยู่ข้างมวลมนุษยชาติ
ผมเคยอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริการาว 18 ปี และมันน่าเศร้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอเมริกาวันนี้ กำแพงแห่งความเกลียดชัง, การเหยียดเชื้อชาติ และความกลัว ขยายออกไปเป็นวงกว้างอย่างที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน อเมริกาในความทรงจำของผมคือประเทศยิ่งใหญ่ที่มีความหลากหลาย, การยอมรับซึ่งกันและกัน และใจกว้าง อเมริกาที่ผมจำได้คือประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่ทุกคนถือกำเนิดขึ้นมาโดยมีสิทธิในการใช้ชีวิต, เสรีภาพ และโอกาสในการแสวงหาความสุขอย่างเท่าเทียมกัน รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาคือหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ บอกตามตรงผมเองก็เป็นหนี้บุญคุณอเมริกาอย่างมาก ประเทศนี้ให้โอกาสอันล้ำค่าที่จะใช้ชีวิตในฝันแบบอเมริกัน ผมเริ่มต้นจากชีวิตแร้นแค้นมีเงินดำรงชีพแค่ 4 ดอลลาร์ต่อวัน จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายชีวิตในฝันของผม ผมเป็นหนี้บุญคุณอเมริกาในหลายๆ ด้านที่มอบชีวิตเช่นนี้ให้กับผม ผมสามารถบอกคุณได้จากประสบการณ์ส่วนตัวว่า อเมริกาเป็นประเทศที่ยอดเยี่ยมอย่างแท้จริง มันถูกสร้างขึ้นบนข้อเท็จจริงของค่านิยมและหลักการที่ต้องผ่านกาลเวลา แม้จะเผชิญความมืดมนในวันนี้ แต่ผมรู้ว่าอเมริกาจะต้องหาทางกลับมารวมตัวกันและฟื้นตัวอีกครั้งในฐานะประเทศชาติ #BlackLivesMatter #WeAreONE”
นอกจากนี้ใน Instagram ของ วัน แชมเปียนชิพ และนักกีฬาของ ONE รวมถึงคนดังในหลายวงการจากทั่วโลกต่างก็ออกมาแสดงเจตนารมณ์เดียวกัน ด้วยการขึ้นภาพสีดำเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ บ้างก็เขียนข้อความ ‘I can’t breathe (ผมหายใจไม่ออก)’ ซึ่งเป็นคำพูดของ “จอร์จ ฟลอยด์” ที่ร้องขอจากเจ้าหน้าที่ตำวจ
ดิมิเทรียส จอห์นสัน – นักกีฬา ONE
มาดอนนา – นักร้อง
https://www.instagram.com/p/CA78IUnh2IY/
ลูกเกด เมทินี – นักแสดง
แอริน ยุกตะทัต – นักแสดง
https://www.instagram.com/p/CA7LcAtjzbL/
เทยา โรเจอร์ – นักแสดง
ซินดี สิรินยา – นักแสดง
https://www.instagram.com/p/CA76p8rgFFO/
https://www.instagram.com/p/CA6pTuDg4JK/
ฮิวโก้ จักรพงษ์ – นักแสดง
เอมี กลิ่นประทุม – นักแสดง
อย่างไรก็ตาม วัน แชมเปียนชิพ ได้มีการรณรงค์และต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่ากับชาวแอฟริกัน-อเมริกัน, เอเชีย-อเมริกัน และไม่ว่าชาติพันธุ์ใดก็ตาม
ทั้งนี้สำหรับ “จอร์จ ฟลอยด์” เขาเป็นชายผิวสีชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน วัย 46 ปี ที่เสียชีวิตจากการถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมินนีแอโพลิส “เดเร็ก ชอวิน” ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรป เนื่องจาก ฟลอยด์ ถูกกล่าวหาว่าใช้ธนบัตรปลอมในร้านขายอาหารแห่งหนึ่ง
ตำรวจกล่าวว่า ฟลอยด์ ขัดขืนการจับกุม แต่ภาพจากกล้องวงจรปิดของร้านอาหารใกล้เคียงไม่แสดงให้เห็นว่าเขามีพฤติกรรมตามที่ถูกกล่าวอ้าง แต่ภาพที่เห็นคือ ฟลอยด์ ถูกใส่กุญแจมือและนอนคว่ำหน้ากับพื้นถนน โดย ชอวิน ใช้เข่ากดคอด้านหลังของเขาไว้เป็นเวลานานกว่า 8 นาที มีเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกสามคนมีส่วนร่วมในการจับกุม ซึ่งในช่วงเวลานั้น ฟลอยด์ ได้ร้องว่า ‘I can’t breathe (ผมหายใจไม่ออก)’
การชันสูตรพลิกศพเบื้องต้นไม่มีข้อบ่งชี้ว่า ฟลอยด์ เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ แต่ผลกระทบที่ผสมกันจากความตึงเครียดระหว่างถูกควบคุมตัว โรคประจำตัว และสารมึนเมาที่อยู่ในร่างกาย น่าจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต
ในขณะที่ครอบครัวของ ฟลอยด์ มอบอำนาจให้ผู้เชี่ยวชาญอิสระในการชันสูตร พบว่า เขาเสียชีวิตจากภาวะขาดอากาศหายใจเนื่องจากแรงกดทับที่คอและหลัง ซึ่งนำไปสู่การขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง
หลังจากเสียชีวิตของ ฟลอยด์ ทำให้เกิดการเดินขบวนและประท้วงในเมืองใหญ่ของอเมริกา ซึ่งลุกลามเป็นการจราจลในเวลาต่อมา และยังเป็นการจุดชนวนประท้วงไปทั่วโลกด้วย
อ่านเพิ่มเติม: